ประโยชน์ของAI ในภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมและสังคม

ประโยชน์ของ AI : บทบาทในภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และสังคม

เมื่อพูดถึงคำว่า Artificial Intelligence หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า AI สิ่งแรกที่ท่านนึกถึงคืออะไรครับ

หลาย ๆ ท่านอาจนึกถึงภาพของหุ่นยนต์ หรือ AI ที่ควบคุมระบบและโต้ตอบกับมนุษย์เหมือนกับ Jarvis จากภาพยนตร์เรื่อง Avengers ใช่ไหมครับ ด้วยอิทธิพลของสื่อต่าง ๆ เวลาที่เราพูดถึงคำว่า AI ภาพลักษณ์ที่เรานึกถึงมักถูกนำไปเชื่อมกับเรื่องสมองกลอิสระและงานอื่น ๆ ทางสายคอมพิวเตอร์อยู่เสมอ

แต่ท่านผู้อ่านทราบไหมครับว่า ที่จริงแล้วขอบเขตของคำว่า AI ไม่ได้จำกัดเพียงแค่การสร้างปัญญาประดิษฐ์และการควบคุมหุ่นยนต์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง[su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”สาขาหนึ่งของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) ที่ทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการสื่อสารและวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นภาษา” ]การประมวลผลภาษาธรรมชาติ[/su_tooltip] (Natural Language Processing: NLP) เพื่อวิเคราะห์ภาษาพูดและเขียนของมนุษย์ การสร้างโมเดลทาง [su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”สาขาหนึ่งของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้และพัฒนาความสามารถในการตัดสินใจได้จากข้อมูลตัวอย่าง” ]Machine Learning[/su_tooltip] การประมวลผลภาพ และการทำ [su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”เป็นศาสตร์ในการหาค่าที่เหมาะสมที่สุด (สูงสุด หรือต่ำสุด ก็ได้) ภายได้เงื่อนไขและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้” ]Optimization[/su_tooltip] เพื่อหาคำตอบของโจทย์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เทคโนโลยีนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย ในปัจจุบันการใช้ AI จึงไม่ได้จำกัดอยู่ในธุรกิจสายคอมพิวเตอร์หรือบริษัทที่มีชื่อเสียงทางเทคโนโลยีเท่านั้น แต่นำไปใช้อย่างแพร่หลายจนแทบจะเรียกได้ว่าอยู่ในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นด้านสาธารณสุข การแพทย์ การเกษตร การเงิน รวมไปถึงการคมนาคมขนส่ง หรือแม้แต่ใช้ในการแก้ปัญหาทางสังคมอีกด้วย เรามาลองมาสำรวจดูกันคร่าว ๆ ว่า AI นั้นถูกนำมาใช้ในแต่ละภาคส่วนที่กล่าวมาอย่างไรบ้างครับ

ด้านเกษตรกรรม

ด้านเกษตรกรรม
Photo by pressfoto from freepik

ประเทศของเราเป็นประเทศเกษตรกรรม เทคโนโลยี AI สามารถนำมาใช้เพื่อดูแลแปลงเกษตร และวิเคราะห์ว่า พืชแปลงไหนมีวัชพืช หรือขาดแคลนน้ำและปุ๋ยได้ ด้วยการป้อนข้อมูลที่ได้จากเซ็นเซอร์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับความชุ่มชื้น ค่า pH ของดิน อัตราการเติบโตของพืช สีของใบ และอื่น ๆ เข้าไปให้ AI วิเคราะห์สภาพของดิน หลังจากระบบวินิจฉัยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ยังสามารถนำไปใช้ร่วมกับเทคโนโลยีอัตโนมัติ (Automation Technology) เพื่อช่วยให้เกษตรกรดูแลแปลงเพาะปลูกได้ โดยไม่ต้องพึ่งแรงงานมนุษย์  เช่น ระบบสั่งให้โดรนบินไปรดน้ำตรงจุดที่มีความต้องการได้โดยอัตโนมัติ

นอกจากนี้ AI ยังสามารถกำหนดปริมาณและสถานที่ที่ต้องการยาฆ่าวัชพืชหรือปุ๋ยได้อย่างแม่นยำ จึงช่วยลดปริมาณสารตกค้าง ซึ่งเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภค และตัวเกษตรกรเองได้อีกด้วย อีกประโยชน์หนึ่งของการใช้ AI ในด้านการเกษตรก็คือ การนำมาใช้ในระบบควบคุมและตัดสินใจของหุ่นยนต์สำหรับการเก็บเกี่ยวผลิตผลต่าง ๆ ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวผลไม้ที่สุกพอดีได้อย่างแม่นยำ และนำไปสู่การลดปริมาณผลไม้เน่าเสียครับ

ด้านการเงิน

Photo by Racool_studio from freepik

เราลองมาดูตัวอย่างการใช้ AI ทางด้านการเงินกันบ้างนะครับ ก่อนที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินต่าง ๆ จะปล่อยเงินกู้ให้กับลูกค้า ทางธนาคารจำเป็นต้องตรวจสอบทรัพย์สินและความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า เพื่อประเมินความเสี่ยงก่อนเสมอ ในอดีต กระบวนการตรวจสอบนี้ ใช้เวลาและกำลังคนจำนวนมากในการตรวจสอบเอกสาร และต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้ตรวจสอบในการตั้งหรือปรับเปลี่ยนเกณฑ์ แต่ในปัจจุบันข้อมูลเกือบทั้งหมดถูกจัดเก็บอยู่ในรูปแบบดิจิทัล จึงทำให้สถาบันการเงินสามารถนำข้อมูลที่มีไปใช้สร้างโมเดลเพื่อประเมินผู้ยื่นกู้และพยากรณ์ความสามารถในการชำระหนี้ได้ การมีข้อมูลอยู่ภายในระบบจึงช่วยเพิ่มความง่ายดายในการส่งข้อมูลไปให้โมเดลของ AI ประมวลผล ซึ่งตอนนี้ทางแบงก์ชาติได้ประกาศหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล (Digital Lending) ของธนาคารและสถาบันการเงินแล้วครับ

นอกจากนี้ จำนวนข้อมูลอื่น ๆ ในรูปแบบดิจิทัลของแต่ละบุคคลในปัจจุบันก็เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ข้อมูลธุรกรรมออนไลน์ ข้อมูลรายรับรายจ่าย ค่าไฟฟ้า ฯลฯ ธนาคารสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ของลูกค้ามารวมกับข้อมูลภายในของธนาคาร เพื่อนำไปเสริมการเรียนรู้ของระบบ AI ซึ่งจะทำให้การประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าแต่ละรายมีความแม่นยำมากขึ้นครับ การนำ AI มาใช้ในการทำงานนั้นเป็นประโยชน์ทั้งกับทางธนาคารและลูกค้าเงินกู้ เพราะนอกจากจะช่วยให้ธนาคารสามารถเจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ที่ระบบเดิมไม่เอื้ออำนวยแล้ว ลูกค้าที่เคยพึ่งเงินกู้นอกระบบก็จะสามารถเข้าถึงเงินกู้ถูกกฎหมายที่ไม่เคยเข้าถึงได้มาก่อนครับ

ด้านสาธารณสุข

ด้านสาธารณสุข
By bongkarn thanyakij from Pexels

การวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ให้ถูกต้องนั้น แพทย์แต่ละคนต้องผ่านการฝึกฝนเป็นเวลาหลายร้อยจนถึงหลายหมื่นชั่วโมงในสาขาเฉพาะทางที่ตนเลือก เพื่อสั่งสมประสบการณ์ให้สามารถวิเคราะห์อาการได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ แต่ระบบ AI ทางการแพทย์ สามารถฝึกฝนจากข้อมูลที่เทียบเท่ากับการฝึกฝนนับล้านชั่วโมง เสมือนการเรียนรู้จากประสบการณ์ของหมอหลายพันคนพร้อมกัน ได้อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในเวลาที่รวดเร็วกว่ามาก ฉะนั้นในบางกรณี AI จะสามารถวิเคราะห์โรคจากอาการได้แม่นยำใกล้เคียง หรือเหนือกว่า แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเลยครับ

ตัวอย่างของการใช้งานที่เลือกมาเล่าให้ฟังในส่วนนี้ เป็นการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการประมวลผลภาพ เพื่อตรวจจับโรคต่าง ๆ ซึ่งตอนนี้ได้เริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น โดยในปัจจุบัน มีการนำ AI ไปใช้วินิจฉัยโรคโดยใช้คอมพิวเตอร์ (Computer Aided Detection: CAD) เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และลดความผิดพลาดของรังสีแพทย์ในการวินิจฉัยโรคมะเร็ง และบริษัทสัญชาติไทยอย่าง Perceptra ยังได้นำ AI มาใช้ตรวจจับ COVID-19 จากภาพ X-ray ช่วงปอดอีกด้วย นอกจากนี้ AI ยังสามารถนำมาใช้ร่วมกับเทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อลดเวลาในการประมวลผล และทำ MRI ดูการเต้นของหัวใจและการทำงานของปอด โดยบริษัท Arterys ที่จัดทำเทคโนโลยีนี้กล่าวว่า ผลลัพธ์มีความถูกต้องเทียบเคียงกับผู้ชำนาญการเลยทีเดียวครับ

อย่างไรก็ดี การวิเคราะห์ทางการแพทย์นั้น ยังไม่สามารถทำได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยเฉพาะในกรณีที่มีความเสี่ยงสูงยังจำเป็นต้องใช้ความเห็นของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาประกอบด้วยครับ

ด้านขนส่งและการเดินทาง

By Skitterphoto–324082 from Pixabay

การใช้ AI ในด้านการขนส่งและเดินทางนั้น สิ่งแรกที่ผู้อ่านหลาย ๆ ท่านอาจนึกถึงก่อน น่าจะเป็นเรื่องของ[su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”รถยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตนเองโดยไม่จำเป็นต้องมีการควบคุมจากผู้ขับขี้” ]รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ[/su_tooltip] (self-driving car) ที่กำลังเป็นกระแสและมีบริษัทชื่อดังหลายแห่ง เช่น Tesla GM และ Ford ทำการพัฒนาอยู่ในปัจจุบัน เทคโนโลยีทางด้าน AI ที่ใช้อยู่ภายในรถยนต์อัตโนมัติมีอยู่เป็นจำนวนมากครับ ตัวอย่างหลัก ๆ ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ การใช้เทคนิคด้าน [su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับภาพที่เรามองเห็นผ่านคอมพิวเตอร์โดยมีการวิเคราะห์ผ่านปัญญาประดิษฐ์เพื่อทำความเข้าใจว่าภาพนั้นคืออะไร” ]Image recognition[/su_tooltip] และ [su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”เป็นหนึ่งในเทคนิคในการสร้างปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากแบบจำลองการทำงานของโครงข่ายประสาทของมนุษย์ โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมมาต่อกันหลาย ๆ ชั้น” ]Deep Learning[/su_tooltip] เพื่อช่วยตรวจจับวัตถุจากภาพที่เห็นผ่านกล้อง และข้อมูลที่วัดจากเซ็นเซอร์ คำนวณระยะห่างของวัตถุต่าง ๆ จากรถ และจำลองการตัดสินใจของผู้ขับ

นอกจากนี้ AI ยังสามารถใช้ในเรื่องอื่น ๆ เช่น การวางแผนการจราจรและเส้นทางการเดินทางได้อีกด้วย โดยเมืองเซินเจิ้น ประเทศจีนได้ร่วมกับบริษัท Huawei ติดตั้งเครือข่าย “Traffic Brain” เพื่อทำหน้าที่เก็บข้อมูลจากกล้องวงจรปิดจำนวนมหาศาลมาใช้ตรวจดูสภาพการจราจร และวิเคราะห์แก้ไขสภาพรถติด รวมทั้งใช้เทคโนโลยีในด้าน image recognition ตรวจจับทะเบียนและลักษณะรถ เพื่อช่วยเหลือตำรวจในการรักษากฎจราจรอีกทางหนึ่งครับ

สำหรับตัวอย่างการใช้ AI ในด้านการวางแผนเส้นทาง ผมเลือกตัวอย่างที่ผมคิดว่าน่าสนใจมากจากบริษัทขนส่งพัสดุชื่อดังของสหรัฐอเมริกาที่มีชื่อว่า UPS ครับ บริษัทนี้มีนโยบายที่น่าสนใจอยู่ข้อหนึ่ง นั่นคือ การบอกให้คนขับรถส่งพัสดุห้ามเลี้ยวซ้าย รถยนต์ในประเทศอเมริกานั้นขับชิดขวาครับ ดังนั้นการเลี้ยวขวาจะสามารถ“ผ่านตลอด”และเลี้ยวได้โดยไม่ต้องรอสัญญาณไฟ หรือกังวลเรื่องรถที่สวนทางมา ทาง UPS เลยออกนโยบายนี้ เพื่อช่วยประหยัดการใช้น้ำมัน ลดเวลาในการส่งของโดยรวม แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการออกแบบเส้นทางการส่งของที่มีความซับซ้อนมากขึ้น และการวางแผนเพื่อส่งพัสดุให้ถึงผู้รับตามเวลาที่ถูกร้องขอไว้ครับ

เพื่อช่วยในการวางแผนเหล่านี้ UPS ได้สร้างระบบนำทางชื่อว่า ORION ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ผสมผสานเทคโนโลยีด้าน AI [su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”สาขาหนึ่งของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้และพัฒนาความสามารถในการตัดสินใจได้จากข้อมูลตัวอย่าง” ]Machine Learning[/su_tooltip] และอัลกอริทึมระดับสูงเข้าด้วยกัน ORION จะคำนวณเลือกเส้นทางที่เหมาะสมพร้อมทั้งปรับเปลี่ยนเส้นทาง และการพยากรณ์เวลาที่ส่งของอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวันด้วยข้อมูลสภาพการจราจร ข้อมูลการรับส่งของ และการเปลี่ยนแปลงของผู้สั่งของ ในการเลือกเส้นทางเดินรถนั้น ORION จะใช้เทคนิค[su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”เป็นเทคนิคการค้นหาที่นำข้อมูลความรู้เกี่ยวกับปัญหาที่มีมาประกอบในการเลือกเส้นทางการค้นหาผ่านฟังก์ชันฮิวริสติก ซึ่งเป็นฟังก์ชันที่ใช้ในประเมิณทางเลือกแต่ละทางจากข้อมูลสถานะออกมาเป็นตัวเลขเพื่อใช้ในการตัดสินใจในการแก้ปัญหา” ]การค้นหาแบบฮิวริสติก[/su_tooltip] (heuristic search) เพื่อหาเส้นทางที่ “ดีพอ” แล้วจึงเรียนรู้และพัฒนาตัวเองจากผลลัพธ์ของการส่งของชิ้นต่าง ๆ เพื่อให้ทำงานได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ครับ

การแก้ปัญหาสังคม

Photo by freepik

จากตัวอย่างในด้านต่าง ๆ ที่ได้ยกมา ผมคิดว่าท่านผู้อ่านคงได้เห็นความหลากหลายในการนำ AI มาช่วยในการทำงานและประกอบธุรกิจต่าง ๆ แล้ว แต่นอกจากการใช้เพื่อแสวงหาผลกำไร AI ยังสามารถนำไปใช้เพื่อช่วยเแก้ปัญหาต่างๆ ในสังคมได้อีกด้วยครับ แม้ว่าการประยุกต์ใช้ในด้านนี้อาจยังไม่เป็นที่ทราบกันอย่างแพร่หลาย แต่หลายๆ องค์กรก็เริ่มนำ AI ไปใช้ เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์แล้วครับ

อัลกอริทึมทาง AI ในตระกูลของการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP) นับเป็นหนึ่งในเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในส่วนนี้ได้โดยตรง โดยการนำเทคนิคนี้ไปวิเคราะห์ลักษณะของข้อความต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับปัจจัยด้านองค์ประกอบของคำหรือความหมาย  นอกจากนี้ผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ยังสามารถนำไปใช้แยกแยะชนิดของข้อความ (Text Classification) หรือวิเคราะห์ด้านอารมณ์ความรู้สึก (Sentiment Analysis) เพื่อทำนายว่าข้อความนั้นๆ มีความหมายเชิงบวกหรือลบมากน้อยแค่ไหนอีกด้วย ในที่นี้ผมขอยกตัวอย่างจากองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (NGO) อย่าง The Trevor Project และ quill.org มาให้ดูกันครับ

The Trevor Project เป็นองค์กรที่สนับสนุนด้านสุขภาพจิตของวัยรุ่นในกลุ่ม LGBTQ ซึ่งในสหรัฐอเมริกาถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงฆ่าตัวตายสูง ทางองค์กรได้เปิดช่องทางติดต่อให้คำปรึกษาผ่านทางโทรศัพท์ ข้อความมือถือและแชท โดยใช้เทคนิคทาง NLP ประมวลผลข้อความและวิเคราะห์อารมณ์ความรู้สึกของผู้ส่ง เพื่อช่วยให้ที่ปรึกษาขององค์กรสามารถประเมินระดับความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นที่ติดต่อเข้ามา และช่วยเลือกให้บริการที่เหมาะสมที่สุดแก่คนแต่ละคนอีกด้วย

ส่วน Quill.org นั้น เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้น เพื่อช่วยเหลือนักเรียนในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ขาดแคลนโอกาสและทุนทรัพย์ในการพัฒนาศักยภาพด้านการเขียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทางองค์กรได้สร้างโปรแกรมสำหรับตรวจสอบคุณภาพในการเขียน ทั้งด้านโครงสร้างและไวยกรณ์ โดยตัวโปรแกรมจะนำเทคนิคด้าน Deep Learning มาใช้ประกอบในการวิเคราะห์ข้อความ ลักษณะการเขียน และช่วยให้ข้อเสนอแนะในสิ่งที่นักเรียนแต่ละคนควรปรับปรุงครับ

นอกจากตัวอย่างที่กล่าวมาแล้ว ยังมีโครงการมากมายที่นำเทคโนโลยีต่าง ๆ ของ AI มาช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของคนในสังคม เช่น โปรแกรมแปลงเสียงพูดเป็นภาษามือ หรือเทคโนโลยีในการหาอาชีพให้ผู้อพยพ หากผู้อ่านสนใจศึกษาเพิ่มเติม ทางบริษัท Google ได้รวบรวมตัวอย่างโครงการบางส่วนไว้ในเว็บไซต์นี้ครับ

เป็นอย่างไรบ้างครับ สำหรับตัวอย่างการนำ AI ไปใช้ในภาคส่วนต่าง ๆ พอจะมองเห็นภาพในการที่จะประยุกต์ใช้ AI เพิ่มเติมไหมครับ ตัวอย่างเหล่านี้เป็นเพียงแค่เสี้ยวหนึ่งของการนำ AI ไปใช้ประโยชน์ในปัจจุบันเท่านั้น แล้วท่านผู้อ่านล่ะครับ มีไอเดียในการนำ AI ไปประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆ ไหมครับ ท่านสามารถแชร์ไอเดียกับผู้อ่านท่านอื่นผ่านกล่องความเห็นด้านล่างได้เลยนะครับ

Our Writer

ปฏิภาณ ประเสริฐสม

ปฏิภาณ ประเสริฐสม

สำเร็จการศึกษาสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จาก Brown University และ University of Michigan, Ann Arbor
ปัจจุบันเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (GBDi)

มีประสบการณ์ความสนใจด้านการประยุกต์ใช้ข้อมูลและสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ชอบการสอนหนังสือ สามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามร้านอาหารต่าง ๆ รอบกรุงเทพ หรือตามคอร์ดแบดมินตันเป็นระยะ ๆ
นภัสวันต์ พสุทิพย์

นภัสวันต์ พสุทิพย์

สำเร็จการศึกษาสาขาวิศวกรรมเครื่องกลและการผลิตจาก Boston University และ University of Illinois, Urbana-Champaign
ปัจจุบันเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (GBDi)
มีประสบการณ์และความสนใจด้านการวิเคราะห์ข้อมูลการเงินและการลงทุน เวลาว่างชอบเล่นกีฬา บอร์ดเกม ชอบเดินชอปปิ้ง และ cafe hopping อยู่เสมอ ๆ

แหล่งอ้างอิง

K. Walsh, “How AI Is Transforming Agriculture,” [Online]. Available: https://www.forbes.com/sites/cognitiveworld/2019/07/05/how-ai-is-transforming-agriculture/#76f7310c4ad1. [Accessed 18 10 2020].

“Sweet Pepper Harvesting Robot: ICT Robotic Use Cases project in the H2020 programme of the EU,” [Online]. Available: http://www.sweeper-robot.eu. [Accessed 18 10 2020].

“Introducing AI-equipped Tomato Harvesting Robots to Farms May Help to Create Jobs,” [Online]. Available: https://news.panasonic.com/global/stories/2018/57801.html. [Accessed 18 10 2020].

“Bank of Thailand issues digital loan rules: Measures to ease personal borrowing,” [Online]. Available: https://www.bangkokpost.com/business/1987475/central-bank-issues-digital-lo

https://www.researchgate.net/publication/341377771_The_application_of_artificial_intelligence_in_radiology. [Accessed 18 10 2020].

“Inspectra,” [Online]. Available: https://inspectra.perceptra.tech/covid-19/. [Accessed 18 10 2020].

“Arterys,” [Online]. Available: https://arterys.com. [Accessed 18 10 2020].

Lutkevich and B. Botelho, “self-driving car (autonomous car or driverless car),” [Online]. Available: https://searchenterpriseai.techtarget.com/definition/driverless-car. [Accessed 18 10 2020].

Qiang, “Shenzhen Creates ‘Traffic Brain’ for Safe City Driving,” [Online]. Available: https://e.huawei.com/ua/publications/global/ict_insights/201708310903/utilities/201711021011. [Accessed 18 10 2020].

“ORION: The algorithm proving that left isn’t right,” [Online]. Available: https://www.ups.com/us/en/services/knowledge-center/article.page?kid=aa3710c2. [Accessed 18 10 2020].

“UPS To Enhance ORION With Continuous Delivery Route Optimization,” [Online]. Available: https://pressroom.ups.com/pressroom/ContentDetailsViewer.page?ConceptType=PressReleases&id=1580323236977-290. [Accessed 18 10 2020].

“ORION Backgrounder,” [Online]. Available: https://www.pressroom.ups.com/pressroom/ContentDetailsViewer.page?ConceptType=Factsheets&id=1426321616277-282. [Accessed 18 10 2020].

“Working together to apply AI for social good,” [Online]. Available: https://ai.google/social-good/impact-challenge/. [Accessed 18 10 2020].

“The Trevor Project,” [Online]. Available: https://www.thetrevorproject.org/. [Accessed 18 10 2020].

“CRISIS TEXT LINE,” [Online]. Available: https://www.crisistextline.org/. [Accessed 18 10 2020].

“Quill,” [Online]. Available: https://www.quill.org/. [Accessed 18 10 2020].

Header designed by macrovector / Freepik



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก