ข่าว AI รอบโลก – สัปดาห์ที่ 2 เดือนมกราคม 2023

“รถเข็นเด็กไฟฟ้า AI” เข็นเอง-หยุดเองอัตโนมัติ ราคา 1.1 แสนบาท

บริษัทเยอรมนีแจ้งเกิดรถเข็นเด็กไฟฟ้าพลัง AI เด่นที่ความสามารถขับเคลื่อนได้เองพร้อมกับหยุดรถได้ออัตโนมัติ ตัวช่วยโยกกล่อมหนูน้อยให้หลับปุ๋ยแบบพ่อแม่ไม่เหนื่อย สนนราคาเบาๆ 1.1 แสนบาท
ผลงานรถเข็นเด็กไฟฟ้าพลัง AI นี้เป็นของบริษัทเยอรมนีชื่อ Glüxkind (อ่านว่า กลุกซ์คินด์ มีความหมายว่า เด็กที่โชคดี) ซึ่งพัฒนาสินค้านวัตกรรมรถเข็นเด็ก Ella ขึ้นมาเพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองของหนูน้อยวัยหัดเดินสามารถจัดการกับภารกิจต่างๆ ได้ง่ายขึ้น กลายเป็นรถเข็นเด็กที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองแบบแฮนด์ฟรี ซึ่งมอบประสบการณ์ที่ไม่ต้องใช้มือควบคุมเอง
ผู้ก่อตั้งบริษัท Glüxkind คือแอนนา ฮังเกอร์ (Anna Hunger) และเควิน หวง (Kevin Huang) ซึ่งเริ่มต้นบริษัทในปี 2020 คุณสมบัติเด่นของรถเข็นเด็ก AI อย่าง Ella คือการใช้เทคโนโลยีลักษณะเดียวกับจักรยานไฟฟ้า เพื่อช่วยเลื่อนและหยุดรถ ทั้งระบบมอเตอร์คู่สำหรับการขึ้นเนินและฟังก์ชันช่วยเบรกเมื่อเดินลงเนิน
เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กน้อยจะได้รับความปลอดภัยเป็นพิเศษ รถเข็นเด็กอัจฉริยะนี้มี “บับเบิลนิรภัยเพื่อความปลอดภัย” แบบ 360 องศา ซึ่งประกอบด้วยเซนเซอร์และกล้องจำนวนมากที่สามารถตรวจจับสิ่งกีดขวาง รวมถึงตรวจสอบว่าผู้ใช้ปล่อยมือจากรถเข็นหรือไม่
คุณสมบัติเด่นของรถเข็นเด็ก AI อย่าง Ella คือการใช้เทคโนโลยีลักษณะเดียวกับจักรยานไฟฟ้า เพื่อช่วยเลื่อนและหยุดรถ
วิดีโอสาธิตของ Glüxkind แสดงว่าเมื่อผู้ใช้ปล่อยมือจากรถเข็นเด็กขณะที่กำลังเดินลงเนินเขาเพื่อไปหยุดของเล่นที่ไหลเลื่อนไป รถเข็น Ella จะทราบทันทีว่าผู้ใช้ไม่ได้บังคับรถแล้ว จึงหยุดการเคลื่อนไหวลงด้วยตัวเอง ถือเป็นรถเข็นเด็ก AI ที่สามารถเป็น “มือและตาคู่พิเศษ” ซึ่งแบ่งเบาภาระในการออกไปท่องเที่ยวกับหนูน้อยได้
Ella ยังสามารถเคลื่อนที่ได้เอง เมื่อเด็กน้อยอยากเปลี่ยนมาให้พ่อแม่อุ้ม ทำให้สามารถเทความสนใจให้เด็กได้เต็มที่ไม่ต้องพะวงกับการเข็นรถเปล่า นอกจากนี้ หากเด็กกำลังพักผ่อนอยู่ในรถ รถเข็นจะสามารถโยกเคลื่อนที่ซ้ำไปมาเพื่อให้เด็กหลับสนิท และยังมีเสียงกล่อมที่ฟังเพลินอีกด้วย
Ella มีกำหนดพร้อมส่งมอบให้ลูกค้าที่สั่งจองในเดือนเมษายนของปี 2023 สนนราคานั้นอยู่ที่ 3,300 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.1 แสนบาท ผู้ปกครองที่สนใจสามารถวางเงินมัดจำ 200 เหรียญสหรัฐเพื่อจองได้ก่อนใคร

อ้างอิง : https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9660000001911

ทนายความหุ่นยนต์ DoNotPay เตรียมสู้คดีในศาลสหรัฐฯ ครั้งแรก

DoNotPay เป็นแชทบอทที่ถูกพัฒนาเพื่อช่วยผู้ใช้ในการแก้ปัญหาระบบราชการและกฎหมาย ก่อตั้งเมื่อปี 2558 โดยโจชัว บราวเดอร์ (Joshua Browder) และเริ่มให้บริการแอปพลิเคชัน ทนายความแชทบอทในปี 2563

สำนักข่าว Gizmodo รายงานว่า ทางทีมผู้สร้าง อธิบายตัวเองว่าเป็น “ทนายหุ่นยนต์คนแรกของโลก” และได้นำ AI ดังกล่าวมาทดสอบในห้องพิจารณาคดีจริงครั้งแรก ณ ศาลสหรัฐฯ เป็นคดีที่จำเลยโดนใบสั่งจราจร โดยจะเริ่มสู้คดีในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 นี้
การทำงานของทนายความหุ่นยนต์ เริ่มต้นด้วยการ ถามถึงรูปคดี ข้อมูลส่วนตัว และร่างคำฟ้องให้จำเลย ถ้าต้องขึ้นศาลอย่างคดีดังกล่าว จะแนะนำแก่จำเลยว่าควรพูดหรือไม่พูดอะไรในศาล ผ่านทางหูฟัง ที่เชื่อมต่อกับระบบ AI
ซึ่งทางบริษัทไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับคดีได้ เนื่องจากต้องการปกป้องความเป็นส่วนตัวของจำเลย และป้องกันการละเมิดกฎระเบียบของห้องพิจารณาคดี

บราวเดอร์ให้สัมภาษณ์ว่า วัตถุประสงค์ของการสร้าง DoNotPay ขึ้นก็เพราะต้องการให้ผู้คนเข้าถึงสิทธิ์ในการจ้างทนายที่มีค่าบริการถูกลง เพิ่มความเป็นธรรมกับคนตัวเล็กตัวน้อยที่โดนเอารัดเอาเปรียบ และช่วยลดค่าใช้จ่ายทางกฎหมาย ค่าปรับที่อาจเกิดขึ้นเมื่อโดนใบสั่ง
ซึ่งก่อนหน้านี้ มีผู้ใช้งานอย่าง แมททิว ลี (Matthew Lee) ลองใช้บริการดังกล่าว แมททิวเป็นครูพาร์ทไทม์ที่ได้รับผลกระทบเพราะรัฐแคลิฟอร์เนียสั่งปิดโรงเรียน ทำให้เขาไม่ได้รับค่าจ้าง ส่งผลให้ไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าบ้าน ซึ่งการกด Subscribe ไว้ทำให้เขาสามารถร้องเรียนความเป็นธรรมให้กับตนเองได้
แมททิวพูดคุยกับแชทบอททนายความหุ่นยนต์ผ่านสมาร์ตโฟน ประมาณ 10-15 นาที จากนั้น AI ก็จัดการกรอกข้อมูลของเขาให้เสร็จสรรพ ภายในวันต่อมาเขาได้รับเงินช่วยเหลือมาจ่ายค่ารถ ค่าเช่า การได้รับความช่วยเหลือครั้งนี้สร้างความประทับใจให้กับแมททิวไปอีกนาน

บริการ DoNotPay สามารถฟ้องร้องใครก็ได้ ตามคอนเซ็ปต์ “Sue Anyone” ซึ่งจำกัดวงเงินการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ไม่เกิน 25,000 ดอลลาร์ (ราว 838,050 บาท)
นอกจากนี้ เคยมีนักกฎหมายจำนวน 20 คน ลงแข่งขันกับ DoNotPay โจทย์คือให้วิเคราะห์ถึงความเสี่ยงในข้อตกลงสำหรับการไม่เปิดเผยข้อมูล โดย AI ทำคะแนนได้สูงด้วยความแม่นยำมากถึง 94 เปอร์เซ็นต์ ด้วยการให้คำตอบผ่านทางแอปพลิเคชัน
“เราช่วยผู้คนต่อสู้กับระบบราชการและกฎหมาย มีหลายครั้งที่ทนายความเรียกค่าบริการที่แพงจนเกินไปแต่ไม่ใส่ใจกับรายละเอียดของคดี AI จึงมีบทบาทในการตัดสิน” บราวเดอร์ กล่าวทิ้งทาย

อ้างอิง : https://www.bangkokbiznews.com/tech/innovation/1047320

ผู้บริหาร Microsoft ยืนยัน Windows 12 จะใช้ AI ทำงานให้ทุกด้าน เข้ามาเสริมการประมวลผล และอาจได้เห็นผู้ช่วยที่ฉลาดขึ้น

ถึงยุคนี้แล้ว คงไม่มีใครสามารถจะหยุดความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI ได้ นอกจากทำให้มันกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ไม่เว้นแม้แต่ภายในตัวระบบปฏิบัติการพีซี Windows ที่เราใช้งานกันเป็นประจำ ซึ่งตอนนี้มีแนวโน้มว่าจะเติบโตขึ้นด้วยพลังด้านนี้ด้วย

โดยในงาน CES 2023 ที่ผ่านมา คุณ Panos Panay รองประธานบริหารและ CPO ของ Microsoft ได้ถูกเชิญขึ้นเวทีเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ของ AMD ระหว่างนั้นถูกยิงคำถามเซอร์ไพรส์จากป้าลิซ่าของเรา ถึงทิศทางของสิ่งที่ Microsoft จะทำต่อไปในอนาคต ซึ่งคุณ Panoy ก็มีแอบช็อกเล็ก ๆ ไม่นึกว่าจะโดนถาม แต่ก็พูดถึงแนวทางในการนำ AI มาพัฒนาและประยุกต์ใช้กับงานทุกด้านที่ Microsoft ทำอยู่ ไม่เว้นแม้แต่ตัว Windows ที่ก็จะหันมาขับเคลื่อนด้วยพลัง AI อย่างเต็มรูปแบบขึ้นเช่นกัน

คุณ Panoy ยกตัวอย่างว่าในอดีตการเกิดขึ้นของเมาส์ ได้เคยเข้ามาปฏิวัติโลกคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นแบบ Graphical User Interface (GUI) แทนที่การพิมพ์กันด้วย Command Line มาแล้ว เขาเชื่อว่า AI ก็กำลังจะทำแบบเดียวกันในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ซึ่งมันจะนำพาสิ่งที่คนคาดไม่ถึงเข้ามาสู่การใช้งานทุกอย่างบน Windows ได้แบบสุดทึ่งมาก ๆ (ใช้คำว่าทุกอย่าง “Everything” เลยจริง ๆ)

ตอนนี้โลกมาถึงยุคที่การประมวลผลข้อมูลมหาศาลมากขึ้น หากใครทำงานด้านเทรนด์โมเดลจะรู้ดีว่าขนาดเร็กคอร์ดข้อมูลของไฟล์ Excel ไฟล์เดียวมันเยอะมาก จนคอมเล็ก ๆ ประมวลผลไม่ไหว ดังนั้นการต้องพึ่งพาพลังดิบจากชิปอย่างเดียวคงไม่เพียงพอแล้วในปัจจุบัน จะต้องมีพลัง AI ขนาดใหญ่ที่ส่งตรงจากคลาวด์ ซึ่งทำงานร่วมกับระดับ OS เข้ามาช่วยเสริมทางให้กันด้วย

พูดง่าย ๆ คือยุคนี้ไม่ใช่ยุคที่ฮาร์ดแวร์จะต้องแรงอยู่ฝ่ายเดียวอีกแล้ว ถ้าซอฟต์แวร์มีความฉลาดพอ มันจะยิ่งปูทางเสริมประสิทธิภาพการประมวลผลให้กันอีก หรือแม้กระทั่งอาจลดการพึ่งพาไปเลยก็เป็นได้ เราจึงกำลังจะเข้าสู่ยุคที่ไม่ต้องลงทุนกับซีพียูการ์ดจอหนักเท่าเดิมอีกต่อไป

ที่สำคัญหากพูดถึง AI ที่เป็นกระแสมากที่สุดตอนนี้ก็คงหนีไม่พ้น ChatGPT แน่นอนว่าไม่ใช่แค่พวกเราที่สนใจ เพราะ Microsoft เองก็สนใจมาก ถึงขนาดมีข่าวการลงทุนใน OpenAI และการพัฒนาร่วมกับซอฟต์แวร์ของตัวเองมาแบบรายวัน ดังนั้นคงเลี่ยงพูดไม่ได้ว่านี่คือหนึ่งในสิ่งที่ Microsoft อยากจะนำมาผลักดันให้กับ Windows รุ่นถัดไปมาก (Windows 12) ซึ่งเราก็น่าจะได้เห็นหลายอย่างที่มีอยู่แล้วบน Windows ตอนนี้ถูกต่อยอดให้การใช้งานล้ำขึ้นไปอีกด้วย AI ดังกล่าว

ความล้ำที่ว่านี้อาจหมายรวมถึงการทำงานของซอฟต์แวร์ร่วมกับฮาร์ดแวร์ด้วย เช่น การวิดีโอคอลที่ทำงานร่วมกับกล้องอย่างไร้รอยต่อกว่าเดิม ซึ่งอาจทำให้ Deepfake ตอนนี้กลายเป็นของเล่นไปเลย หรือกระทั่งการมาถึงของผู้ช่วยอัจฉริยะที่มีความฉลาดขึ้นกว่า Cortana ปัจจุบัน อย่างไรก็ดี ทั้งหมดคืออนาคตที่ยังมาไม่ถึง แต่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นสูงบนโลกของ Microsoft แน่นอน มารอดูกันครับว่าเราจะได้เห็นบน OS รุ่นถัดไปอย่าง Windows 12 ที่เสริมด้วยพลัง AI แล้ว พัฒนาออกมาน่าทึ่งขนาดไหน

อ้างอิง : https://droidsans.com/windows-12-will-be-an-ai-powerhouse-which-improve-everything/

Microsoft เปิดตัว VALL-E เครื่องมือ AI ที่เลียนแบบเสียงพูดให้เหมือนใครก็ได้ เพียงอัดต้นฉบับให้ฟังแค่ 3 วินาที

ในโลกที่ทุกอย่างหันมาขับเคลื่อนด้วย AI มีทั้ง ChatGPT มีทั้ง Midjourney ออกมาให้ใช้ จนถึงตอนนี้ก็คงใกล้จะเหมือนหนังไซไฟในวัยเด็กของเราเข้าไปทุกทีแล้ว ล่าสุด Microsoft ยังตอกย้ำเทรนด์นี้เพิ่มอีกขั้นด้วยการเปิดตัว VALL-E ซึ่งเป็นปัญญาประดิษฐ์ AI ที่สามารถเลียนเสียงให้เหมือนมนุษย์คนไหนก็ได้ ผ่านการเทรนด์โดยใช้ไฟล์เสียงพูดความยาวสั้นสุด ๆ แค่ 3 วินาทีเท่านั้น
ความน่าสนใจคือมันสามารถเลียนได้เป๊ะทั้งน้ำเสียงและอารมณ์ของผู้พูดต้นฉบับ แถมยังสามารถปรับเปลี่ยนแต่งโหมดเพิ่มเติมได้ตามใจ คือหากเหมือนไม่พอก็ยังจูนให้เหมือนเพิ่มขึ้นได้อีก เรียกว่าล้ำหน้ากว่าเครื่องมือ AI อื่นหลายตัวที่ออกมาก่อนหน้านี้มาก
Microsoft เปิดเผยข้อมูลว่าได้ใช้ข้อมูลเสียงตัวอย่างภาษาอังกฤษรวมกว่า 60,000 ชั่วโมง เพื่อฝึกฝนเจ้า VALL-E จนมันสามารถจับทางเสียงและอารมณ์ได้ทุกอย่าง และสุดท้ายก็ลดการเทรนด์ให้เหลือแค่ 3 วินาทีได้อย่างที่กล่าวไป อย่างไรก็ตาม แม้เสียงโดยส่วนใหญ่จะมีความเป็นธรรมชาติมากขึ้นแล้ว แต่หากฟังโดยละเอียดจริง ๆ ก็ยังจับความเป็นโรบอตได้อยู่ ซึ่งส่วนนี้ก็คงต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มต่อไป
ปัจจุบัน Microsoft ยังไม่เปิดให้คนทั่วไปเข้าถึงการใช้งาน VALL-E ได้แบบสาธารณะ แต่ได้ส่งให้มหาวิทยาลัย Cornell ได้เริ่มทดลองใช้ก่อนแล้ว ซึ่งทางมหาวิทยาลัยก็ได้เผยแพร่งานตัวอย่างการใช้งานจริงออกมาให้ดู พบว่ามีความเหมือนแบบน่าทึ่งจริง ๆ สามารถเข้าไปลองฟังกันได้จากลิงก์ GitHub
อย่างไรก็ดี แม้ VALL-E จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่น่าทึ่ง แต่เชื่อว่าการมีอยู่ของมันจะต้องสร้างความน่ากังวลทางด้านจริยธรรมไม่มากก็น้อย เพราะต้องอย่าลืมว่าหากเครื่องมือนี้ไปตกอยู่ในเงื้อมมือของผู้ไม่หวังดี เช่น แก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวง หรือผู้ได้รับผลประโยชน์ทางการเมือง นั่นก็อาจจะส่งผลให้ภาพลักษณ์ของมันอยู่ในแง่ลบมากกว่าแง่บวกได้ ดังนั้นก็คงต้องรอดูกันต่อไปว่าโลกจะมีวิธีควบคุมการใช้งานสิ่งนี้อย่างไร เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติมากที่สุด

อ้างอิง : https://droidsans.com/microsoft-vall-e-the-ai-that-can-replicate-any-human-voice-psd/

โรงเรียนในนิวยอร์กห้ามไม่ให้เข้าถึง ChatGPT เนื่องจากกลัวว่าจะมีการโกงและให้ข้อมูลผิดๆ

กระทรวงศึกษาธิการของนครนิวยอร์กได้บล็อกการเข้าถึง ChatGPT บนเครือข่ายและอุปกรณ์ เนื่องจากกลัวว่าเครื่องมือ AI จะเป็นอันตรายต่อการศึกษาของนักเรียน

Jenna Lyle โฆษกของแผนกบอกกับ Chalkbeat New York ซึ่งเป็นเว็บไซต์ข่าวที่เน้นด้านการศึกษา ว่าการสั่งห้ามนั้นเกิดจาก “ผลกระทบด้านลบต่อการเรียนรู้ของนักเรียน และความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยและความถูกต้องของเนื้อหา” และได้กล่าวว่า “แม้ว่าเครื่องมือนี้อาจสามารถตอบคำถามได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย แต่ก็ไม่ได้สร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา ซึ่งจำเป็นต่อความสำเร็จทางวิชาการ”

ChatGPT ยังประสบกับความล้มเหลวซึ่งพบได้ทั่วไปในระบบภาษา AI ล่าสุดทั้งหมด เนื่องจากได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับข้อมูลที่คัดลอกมาจากอินเทอร์เน็ต จึงมักทำซ้ำและขยายอคติ เช่น การกีดกันทางเพศและการเหยียดเชื้อชาติในคำตอบ ระบบยังมีแนวโน้มที่จะสร้างข้อมูลง่ายๆ ตั้งแต่วันที่ในอดีตไปจนถึงกฎหมายทางวิทยาศาสตร์ และนำเสนอเป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง

ซึ่งลักษณะที่ผสมผสานระหว่างความคล่องแคล่ว การเข้าถึง และข้อมูลที่ผิด ซึ่งทำให้เครื่องมือนี้น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งสำหรับนักการศึกษา ครูหลายคนกล่าวว่าซอฟต์แวร์เช่น ChatGPT ทำให้ไม่สามารถทดสอบความสามารถของนักเรียนในการเขียนเรียงความที่บ้านได้ ทำไมต้องเขียนงานที่มอบหมาย หาก ChatGPT สามารถทำงานให้คุณได้ภายในไม่กี่วินาที และแม้ว่าเครื่องมือในการตรวจจับงานเขียนที่สร้างโดย AI จะมีอยู่แล้ว แต่ก็ไม่ชัดเจนว่าระบบเหล่านี้จะมีความแม่นยำเพียงใด หรือนักเรียนจะสามารถเอาชนะพวกเขาด้วยการแก้ไขข้อความง่ายๆ ที่สร้างโดย AI ได้หรือไม่

อย่างไรก็ตาม คนอื่นๆ ให้เหตุผลว่าระบบการศึกษาจะต้องปรับให้เข้ากับเทคโนโลยีนี้ มาตรฐานการทดสอบใหม่อาจเน้นที่การสอบด้วยตนเองมากขึ้น เช่น ครูอาจขอให้นักเรียนซักถามผลลัพธ์ของระบบ AI แต่การปรับเปลี่ยนดังกล่าวต้องใช้เวลา และมีแนวโน้มว่าระบบการศึกษาอื่น ๆ จะห้ามการเขียนที่สร้างโดย AI ในอนาคตอันใกล้นี้เช่นกัน แพลตฟอร์มออนไลน์บางแพลตฟอร์ม เช่น การเข้ารหัสเว็บไซต์ถามตอบ Stack Overflow ได้แบน ChatGPT ไปแล้ว เนื่องจากกลัวว่าเครื่องมือจะทำลายความถูกต้องของเว็บไซต์ของตน

อ้างอิง : https://www.theverge.com/2023/1/5/23540263/chatgpt-education-fears-banned-new-york-city-safety-accuracy

งานประชุมวิชาการ AI ระดับโลก ‘แบน’ งานที่ใช้ ChatGPT เขียน

การประชุมทางวิชาการด้าน machine learning ที่มีชื่อเสียงที่สุดงานหนึ่งของโลกได้ห้ามผู้เขียนไม่ให้ใช้เครื่องมือ AI เช่น ChatGPT ในการเขียนเอกสารทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เกิดการถกเถียงเกี่ยวกับบทบาทของข้อความที่สร้างโดย AI ในแวดวงวิชาการ

International Conference on Machine Learning (ICML) ประกาศนโยบายเมื่อต้นสัปดาห์นี้ โดยระบุว่า “เอกสารที่มีข้อความที่สร้างขึ้นจากโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) เช่น ChatGPT เป็นสิ่งต้องห้าม เว้นแต่ข้อความที่สร้างขึ้นจะถูกนำเสนอเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์การทดลอง” ข่าวดังกล่าวก่อให้เกิดการอภิปรายอย่างกว้างขวางบนโซเชียลมีเดีย โดยมีนักวิชาการและนักวิจัยด้าน AI ออกมาปกป้องและวิพากษ์วิจารณ์นโยบายดังกล่าว ผู้จัดงานประชุมตอบโต้ด้วยการเผยแพร่ข้อความยาวขึ้นเพื่ออธิบายความคิดของพวกเขา

จากข้อมูลของ ICML การเพิ่มขึ้นของโมเดลภาษา AI ที่สาธารณชนเข้าถึงได้ เช่น ChatGPT ซึ่งเป็นแชทบอท AI สำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไปที่เปิดตัวบนเว็บเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว แสดงถึงการพัฒนาที่ “น่าตื่นเต้น” ซึ่งมาพร้อมกับ “ผลลัพธ์ที่ไม่คาดคิด รวมถึงคำถามที่ไม่ได้รับคำตอบ” ICML ตั้งคำถามมากมายรวมถึงคำถามว่าใครเป็นเจ้าของผลลัพธ์ของระบบดังกล่าว (พวกเขาได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับข้อมูลสาธารณะ ซึ่งโดยปกติแล้วจะถูกรวบรวมโดยไม่ได้รับความยินยอม และบางครั้งก็นำข้อมูลเหล่านั้นออกมาแบบคำต่อคำ) และข้อความและรูปภาพที่สร้างโดย AI ควรเป็น “สิ่งใหม่หรือแค่สิ่งที่ถูกดัดแปลงมาจากงานที่มีอยู่แล้ว”

คำถามหลังจากการถกเถียงที่มากมายเกี่ยวกับการประพันธ์ นั่นคือใคร “เขียน” ข้อความที่สร้างขึ้นโดย AI: เครื่องจักรหรือมนุษย์ควบคุม นี่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจาก ICML นั้นห้ามเฉพาะข้อความที่ “ผลิตทั้งหมด” โดย AI เท่านั้น ผู้จัดงานประชุมกล่าวว่าพวกเขาไม่ได้ห้ามใช้เครื่องมือเช่น ChatGPT “สำหรับแก้ไขหรือขัดเกลาข้อความที่ผู้เขียนเขียน” และโปรดทราบว่าผู้เขียนหลายคนใช้ “เครื่องมือแก้ไขกึ่งอัตโนมัติ” เช่น ซอฟต์แวร์แก้ไขไวยากรณ์ Grammarly เพื่อจุดประสงค์นี้อยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ ICML จึงกล่าวว่าการห้ามใช้ข้อความที่สร้างโดย AI จะได้รับการประเมินอีกครั้งในปีหน้า

ก่อนที่ ICML จะชี้แจงนโยบายของตน นักวิจัยหลายคนกังวลว่าการห้ามใช้ข้อความที่สร้างขึ้นโดย AI อาจเป็นอันตรายต่อผู้ที่ไม่ได้พูดหรือเขียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ศาสตราจารย์ Yoav Goldberg แห่งมหาวิทยาลัย Bar-Ilan ในอิสราเอลบอกว่าการห้ามใช้เครื่องมือเขียน AI อย่างครอบคลุมจะเป็นการปิดกั้นชุมชนเหล่านี้

“มีอคติโดยไม่รู้ตัวอย่างชัดเจนเมื่อประเมินเอกสารในตรวจเอกสารที่เขียนได้คล่องแคล่วกว่า ซึ่งเจ้าของภาษาจะได้เปรียบกว่า” Goldberg กล่าวอีกว่า “การใช้เครื่องมือเช่น ChatGPT เพื่อช่วยเรียบเรียงความคิดของพวกเขาจะสามารถ ‘ยกระดับในแข่งขัน’ ในประเด็นเหล่านี้ได้” เครื่องมือดังกล่าวอาจช่วยให้นักวิจัยประหยัดเวลาได้ Goldberg กล่าวรวมทั้งสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานได้ดีขึ้น นอกจากนี้ Raji นักวิจัยด้าน AI ของ Mozilla Foundation กล่าวว่าเธอเคยได้ยินจากผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาอังกฤษว่าเครื่องมือดังกล่าวสามารถ “มีประโยชน์อย่างเหลือเชื่อ” สำหรับการร่างเอกสาร และเสริมว่ารูปแบบภาษามีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงข้อความที่รุนแรงมากขึ้น

อ้างอิง : https://www.theverge.com/2023/1/5/23540291/chatgpt-ai-writing-tool-banned-writing-academic-icml-paper

หุ่นยนต์ SentiV นักดูแลพืชประมวลผลข้อมูลผ่านอัลกอริทึมที่ใช้ AI

ภายในงาน CES 2023 ที่จัดขึ้น ณ เมืองลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากมีการเปิดตัวสินค้าเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมาย ยังมีการเปิดตัวหุ่นยนต์เพื่อการเกษตรที่น่าสนใจ หนึ่งในนั้น คือ หุ่นยนต์เซนติวี (SentiV) นักดูแลพืชประมวลผลข้อมูลผ่านอัลกอริทึมที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)

แนวคิดใหม่ในการทำการเกษตรที่ลดการใช้แรงงานที่เป็นมนุษย์ลงแต่กลับเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นด้วยขีดความสามารถของหุ่นยนต์ที่ทำงานได้ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง มนุษย์กลายเป็นเพียงผู้ควบคุมและบริหารจัดการ
หุ่นยนต์เซนติวี (SentiV) ถูกออกแบบให้มีลักษณะพิเศษด้วยระบบขับเคลื่อนแบบกงล้อหมุนขนาดใหญ่ทำให้มันสามารถเคลื่อนที่ได้ไปในทุกสภาพพื้นผิวบนแปลงเกษตรขนาดใหญ่ โดยไม่ทำลายหรือสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่แปลงเกษตร ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญเป็นอย่างมากในกรณีที่ต้นพืชยังมีขนาดเล็กและถูกทำลายได้ง่าย

โครงสร้างความสูงของหุ่นยนต์เซนติวี (SentiV) สามารถปรับแต่งให้เหมาะสมกับสภาพของต้นพืช ติดตั้งกล้อง จีพีเอส (GPS) ระบุตำแหน่งและเซนเซอร์จำนวนมากทำงานได้แบบเรียลไทม์ น้ำหนักของหุ่นยนต์เซนติวี (SentiV) ประมาณ 15 กิโลกรัม ทำภารกิจต่อเนื่องได้ประมาณ 49 เอเคอร์ต่อวัน หรือประมาณ 123.97 ไร่ต่อวัน โดยภารกิจหลักของหุ่นยนต์เซนติวี (SentiV) มันจะทำหน้าที่ตรวจสอบและรายงานตำแหน่งของปัญหา เช่น วัชพืช ต้นพืชที่มีโรคหรือได้รับความเสียหายจากสัตว์อื่น ๆ รวมไปถึงความสามารถในการประเมินการใส่ปุ๋ยให้กับต้นไม้หรือปริมาณน้ำที่เหมาะสมกับพื้นที่เพาะปลูก

หุ่นยนต์เซนติวี (SentiV) ได้รับรางวัลนวัตกรรมทางการเกษตรจากภายในงาน CES 2023 สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมของหุ่นยนต์ได้ผ่านทางเว็บไซต์หรือคลิปวิดีโอด้านล่างนี้ บริษัทผู้พัฒนาหุ่นยนต์ยังไม่เปิดเผยกำหนดการวางจำหน่ายหุ่นยนต์อย่างเป็นทางการ

อ้างอิง : https://www.tnnthailand.com/news/tech/135592/

OpenAI เปิดลงทะเบียนรอ ChatGPT แบบชำระเงินที่คำตอบที่รวดเร็วกว่า

ChatGPT นั้นสุดยอดมากแต่เป็นสิ่งที่สร้างช่องโหว่ในกระเป๋าของผู้สร้างอย่าง OpenAI เป็นอย่างมากเช่นกัน โดยบริษัทคิดว่าจะต้องจ่ายเงินหลายล้านดอลลาร์ต่อเดือนเพื่อให้แชทบอทใช้งานได้ฟรี ทำให้ OpenAI แสวงหาเงินทุนหลายพันล้านจากหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดของ Microsoft และบริษัทก็กำลังทดลองหาวิธีสร้างรายได้จากซอฟต์แวร์ของตน

แม้ว่าหลายบริษัทกำลังทำงานกับแชทบอท AI ที่คล้ายกันกับ ChatGPT แต่การตัดสินใจของ OpenAI ที่จะทำให้เครื่องมือนี้ฟรีสำหรับทุกคนในการเข้าถึงทางออนไลน์ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นสิ่งที่ฉลาดมาก สร้างกระแสฮือฮาอย่างมากเกี่ยวกับ ChatGPT โดยผู้ใช้เว็บทดลองใช้ซอฟต์แวร์ด้วยวิธีต่างๆ ตั้งแต่การเขียนเอกสารของวิทยาลัยไปจนถึงการเขียนข้อความแชทบนแอปหาคู่

ในช่องทาง Discord อย่างเป็นทางการของบริษัท OpenAI ได้แชร์รายการรอสำหรับสิ่งที่บริษัทเรียกว่า “ChatGPT Professional” ซึ่งเป็น ChatGPT เวอร์ชัน “ทดลอง” แบบชำระเงิน OpenAI กล่าวว่า ChatGPT Professional จะ “พร้อมใช้งานเสมอ” นำเสนอ “การตอบสนองที่รวดเร็ว” โดยไม่มีการควบคุม และให้คำตอบแก่ผู้ใช้ “อย่างน้อย” สองเท่าของจำนวนคำตอบต่อวันเมื่อเทียบกับแชทบอทเวอร์ชันฟรีของพวกเขา

ทุกคนสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโปรแกรมนำร่อง ChatGPT Professional ได้ โดยแบบฟอร์มคำขอจะมีคำถามว่าผู้ตอบใช้ ChatGPT อย่างไร และราคาใดที่พวกเขาจะพิจารณาว่ายุติธรรม ซึ่งรวมถึงข้อจำกัดความรับผิดชอบ

Sam Altman ซีอีโอของ OpenAI พยายามลดกระแสโฆษณาบางส่วน โดยทวีตเมื่อเดือนที่แล้วว่า ChatGPT มีปัญหากับ “ความทนทานและความจริง” และมันจะเป็น “ความผิดพลาดที่ทำให้ยากจะพึ่งพาซอฟต์แวร์นี้สำหรับสิ่งที่สำคัญในตอนนี้” แต่นั่นไม่ได้หยุดบางบริษัทที่ทดลองรวม ChatGPT เข้ากับเวิร์กโฟลว์ของพวกเขา และ Microsoft เองก็กำลังพยายามใช้ซอฟต์แวร์เพื่อปรับปรุง Bing

ในเวลาเดียวกัน มีรายงานว่า OpenAI ต้องการเงินทุน 10,000 ล้านดอลลาร์จาก Microsoft ซึ่งเป็นพันธมิตรอย่างใกล้ชิดกับบริษัทในอดีต โดยจัดหาทั้งเงินและพลังการประมวลผลที่จำเป็นสำหรับการฝึกอบรมระบบ AI ซึ่งมีรายงานว่าข้อตกลงดังกล่าวจะเห็นว่า Microsoft เก็บ 75 เปอร์เซ็นต์ของผลกำไรของ OpenAI จนกว่ายักษ์ใหญ่จะคืนทุนเริ่มต้น โดยปัจจุบัน OpenAI ให้สิทธิ์เข้าถึงซอฟต์แวร์บางตัวแบบชำระเงินแล้ว เช่น Image Generator DALL-E และการสร้างรายได้จาก ChatGPT จะเป็นขั้นตอนต่อไปที่สมเหตุสมผล

อ้างอิง : https://www.theverge.com/2023/1/11/23549821/openai-professional-experimental-paid-version-waitlist-monetization

—————————————————————————————-

ทั้งหมดเป็นข่าวที่น่าสนใจใน  6 – 12 มกราคม 2565 พบกันใหม่ในสัปดาห์หน้านะคะ : )

หากมีข้อสงสัย ติชมสามารถ ติดตามและสอบถามได้ที่
 : AIไทยสามารถ โดย AI for all Thailand



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก