ข่าว AI รอบโลก – สัปดาห์ที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ 2023

AI ประดิษฐ์ลายมือ! สร้างอักษรตัวเขียนเหมือนมนุษย์ ต่างกันทุกครั้งที่จดปากกา

ท่ามกลางการใช้ประโยชน์หลายด้านจากปัญญาประดิษฐ์ (AI) วันนี้โลกได้รู้จักชุดเครื่องมือฟรีชื่อ “แคลลิกราเฟอร์ดอทเอไอ” (Calligrapher.ai) ความสามารถหลักคือการสร้างรูปแบบอักษรที่มีลักษณะเหมือนลายมือเขียนของมนุษย์ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันทุกครั้งที่เขียน

ข้อมูลจากรายงานของสำนักข่าวอาร์สเทคนิก้า (Ars Technica) ระบุว่า ชุดเครื่องมือฟรี Calligrapher.ai นั้นพัฒนาขึ้นจากระบบโครงข่ายประสาทเทียม โดยเปิดให้ผู้ใช้จำลองลายมือเขียนผ่าน JavaScript ผลงานที่ได้นั้นน่าประทับใจ เพราะผู้ใช้เพียงแค่พิมพ์คำ วลี หรือประโยค และรอไม่กี่วินาทีเพื่อให้ระบบแสดงตัวอักษรในรูปแบบลายมือที่แตกต่างกันรวม 9 แบบ

รายงานระบุว่า รูปแบบอักษรจะไม่ตายตัว โดยแต่ละแบบสามารถปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสมเพื่อความง่ายในการอ่าน ทั้งส่วนความกว้างของเส้นขีด และความเร็วของลายมือเขียน

ความสามารถสร้างลายมือเขียนของ Calligrapher.ai ถือเป็นมิติใหม่ของการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ ที่ผ่านมา ปัญญาประดิษฐ์ถูกพัฒนาเป็นเครื่องมือสร้างรูปภาพจากข้อความ ยังมีการพัฒนาระบบ “นักกฎหมายหุ่นยนต์” รวมถึงแชทบอทอัจฉริยะ และอีกหลายระบบที่ถูกขับเคลื่อนโดยระบบอัตโนมัติ
สำหรับระบบสร้างลายมือเขียน Calligrapher.ai อัลกอริทึมการเขียนในแต่ละคำจะคำนวณจากน้ำหนักทางสถิติ โดยโครงข่ายประสาทเทียม หรือ recurrent neural network (RNN) ของระบบจะวิเคราะห์และต่อยอดฐานข้อมูลลายมือออนไลน์ IAM On-Line Handwriting Database ซึ่งประกอบด้วยตัวอย่างลายมือจากบุคคล 221 คน เพื่อกำหนดน้ำหนักที่จะใช้ในการแสดงผล ฐานข้อมูลนี้ทำให้ Calligrapher.ai แตกต่างจากฟอนต์สคริปต์ที่มีมานานหลายทศวรรษ เพราะที่ผ่านมา อักขระแต่ละตัวมักถูกจำกัดให้อยู่ในรูปแบบที่กำหนด แต่ Calligrapher.ai ทำให้ทุกตัวอักษรมีความแตกต่างกันไปในแต่ละเอาต์พุต ทำให้ข้อความดูสมจริงยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม ข้อสังเกตของการใช้งาน Calligrapher.ai ในขณะนี้คือข้อจำกัดของฐานข้อมูลที่ดึงมาใช้ในระบบ ทำให้มีการปรับแต่งให้เข้ากับตัวอักษรภาษาอังกฤษมากกว่าภาษาอื่น ส่งให้ผู้ใช้รายงานปัญหาเมื่อใช้งานกับภาษาที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ
Calligrapher.ai นับเป็นผลงานของ “ฌอน วาสเกซ” (Sean Vasquez) นักวิจัยด้านแมชชีนเลิร์นนิงซึ่งใช้งานวิจัยปี 2013 ที่อเล็กซ์ เกรฟส์ (Alex Graves) แห่ง DeepMind ศึกษาไว้ โดยก่อนหน้านี้ Calligrapher.ai ถูกสร้างขึ้นและเผยแพร่เผยมานานหลายปี แต่เพิ่งจะได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ หลังจากเพจดังกล่าวถูกเผยแพร่ในชุมชนคนออนไลน์

ในส่วนการนำไปใช้ Vasquez ได้อัปโหลดชุดคำสั่ง หรือโค้ดพื้นฐานไปยังเว็บไซต์ GitHub ในปี 2018 ทำให้นักออกแบบสามารถปรับระบบ Calligrapher.ai ให้เข้ากับแอปพลิเคชันอื่นได้ คาดว่า Calligrapher.ai จะมีการประสานงานเพื่อให้เกิดระบบงานใหม่ๆ ที่ใช้ประโยชน์จากแบบอักษรซึ่งเขียนด้วยลายมือแบบไม่ซ้ำเพิ่มเติมในอนาคต

อ้างอิง : https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9660000009092

จีนเอาด้วย เตรียมเปิดตัวแชทบอท AI คล้าย ChatGPT มีนาคมนี้

บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีนมีแผนที่จะเปิดตัวบริการดังกล่าวในฐานะแอปพลิเคชันแบบสแตนด์อโลนและค่อย ๆ รวมเข้ากับเสิร์ชเอนจิน แต่แหล่งข่าวปฏิเสธที่จะเปิดเผยรายละเอียดโดยระบุว่าเป็นข้อมูลที่เป็นความลับ

เทคโนโลยีของ ChatGPT ทำงานโดยการเรียนรู้จากข้อมูลจำนวนมากว่าผู้ใช้งานจะตอบคำถามในลักษณะเหมือนกับมนุษย์ได้อย่างไร โดยนำเสนอข้อมูลเช่นเสิร์ชเอนจินหรือแม้กระทั่งบทประพันธ์ เช่นนักเขียนนวนิยายที่มีชื่อเสียง

ปัจจุบัน Chatbots ในประเทศจีนให้ความสำคัญกับการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ในขณะที่ ChatGPT สามารถทำงานได้อย่างมืออาชีพมากขึ้น เช่น การเขียนโปรแกรมและการเขียนเรียงความ

Baidu วางแผนที่จะรวมผลลัพธ์ที่สร้างขึ้นโดยแชทบอทเมื่อผู้ใช้ทำการร้องขอการค้นหา แทนที่จะเป็นเพียงลิงก์เท่านั้น
Microsoft Corp ลงทุนไปแล้ว 1 พันล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนา AI และกำลังจะลงทุนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ บริษัทยังได้ดำเนินการเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์การสร้างภาพของ OpenAl ในเครื่องมือค้นหา Bing ให้กับ Alphabet Inc.

Baidu ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่งได้ลงทุนจำนวนมหาศาลในเทคโนโลยี AI ซึ่งรวมถึงบริการคลาวด์ ชิป และการขับขี่แบบอัตโนมัติ เนื่องจากบริษัทต้องการกระจายแหล่งรายได้ของบริษัทให้มากขึ้น

ในการประชุมนักพัฒนาโปรแกรมเมื่อเดือนที่แล้ว Baidu ได้เปิดตัวครีเอเตอร์ ที่ใช้ AI 3 ตัว ซึ่งเทคโนโลยีช่วยให้พวกเขาสามารถรับบทเป็นนักเขียนบท, นักวาดภาพประกอบ, บรรณาธิการหรือแอนิเมเตอร์ได้

อ้างอิง : https://www.posttoday.com/international-news/690172

OpenAI เปิดตัวเครื่องมือช่วยจำแนกข้อความว่าถูกสร้างโดย AI หรือมนุษย์

โอเพนเอไอ ออกเครื่องมือใหม่ล่าสุด AI Text Classifier ที่ช่วยจำแนกและแยกความแตกต่างระหว่างบทความที่ถูกเขียนโดยมนุษย์ หรือเขียนด้วยเอไอ ซึ่งกรณีนี้ รวมถึง ChatGPT ด้วย ซึ่งหลังจาก ChatGPT ได้กลายเป็นกระแสไปทั่วโลก และทำให้เกิดการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) ช่วยในการเขียนบทความ ซึ่งก่อให้เกิดเสียงวิจารณ์จำนวนมากถึงความเหมาะสม

ล่าสุด โอเพนเอไอ ได้ออกเครื่องมือที่มีความสามารถในการแยกความแตกต่างระหว่างบทความที่ถูกสร้างโดยมนุษย์หรือสร้างด้วยฝีมือของเอไอ ไม่ว่าปัญญาประดิษฐ์นั้นจะมาจาก ChatGPT ก็ตาม โดยเรียกว่า AI Text Classifier
แน่นอนว่า เครื่องมือนี้ยังมีข้อจำกัดอยู่ไม่น้อย โดยโอเพนเอไอ ยอมรับว่า เครื่องมือยังขาดความแม่นยำในหลายด้าน ซึ่งตอนนี้มีอัตราความสำเร็จในการตรวจพบเพียง 26 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

พร้อมกันนี้ OpenAI AI Text Classifier จะไม่สามารถทำงานได้ถ้าหากบทความมีความยาวน้อยกว่า 1,000 ตัวอักษร หรือประมาณ 150-250 คำ ตามด้วยการที่เครื่องมือนี้ยังไม่สามารถจำแนกได้ว่า ถ้าหากงานเขียนดังกล่าวถูกเขียนโดยเด็ก หรือภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ จึงเป็นข้อจำกัดที่สำคัญของเครื่องมือนี้
ดังนั้นแล้วการตรวจสอบจำเป็นต้องใช้เครื่องมืออื่นประกอบด้วยจะดีที่สุด พร้อมกับย้ำด้วยว่าไม่ควรใช้เครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือหลักในการตัดสินใจ

การมาของ ChatGPT ได้สร้างผลกระทบ และการวิจารณ์เป็นจำนวนมาก ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือระบบการศึกษา โดยมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งในสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นนิวยอร์ก และซีแอตเทิล ห้ามใช้เครื่องมือ ChatGPT บนเครือข่ายและอุปกรณ์ของเขตการศึกษา เพราะเกรงว่าอาจส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของนักเรียน อีกทั้งความถูกต้องของเนื้อหาที่ถูกพัฒนาจาก ChatGPT ก็ยังเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเชื่อถือได้ทั้งหมด
ทั้งนี้ ในกรณีเรื่องของความน่าเชื่อถือของเนื้อหาที่ถูกพัฒนาโดย ChatGPT โอเพนเอไอ ในฐานะนักพัฒนาก็เคยออกมาย้ำว่า ไม่สามารถเชื่อถือได้ทั้งหมด และไม่ควรคาดคิดว่าเนื้อหาทั้งหมดจะถูกต้อง 100 เปอร์เซ็นต์

อ้างอิง : https://www.thairath.co.th/news/tech/2618060

Google เร่งพัฒนา AI เชิงโต้ตอบแข่งกับ ChatGPT

สำนักข่าว CNBC เผยว่า Google กำลังทดสอบปัญญาประดิษฐ์เชิงโต้ตอบหลายตัวเพื่อมาตอบโต้การก้าวขึ้นมาผงาดของ ChatGPT โดยน่าจะส่งผลต่อผลิตภัณฑ์ในอนาคตของบริษัทด้วย

หนึ่งในปัญญาประดิษฐ์ที่ Google กำลังทดสอบคือ Apprentice Bard ซึ่งพนักงานได้ลองป้อนคำถามเข้าไปก็พบว่าให้คำตอบที่มีรายละเอียดคล้ายกับ ChatGPT

ตัว Apprentice Bard นี้พัฒนาขึ้นจาก LaMDA เทคโนโลยีการสนทนา โดยมีลักษณะการใช้งานคล้ายกับ ChatGPT เมื่อพนักงานลองป้อนคำถามเข้าไปในกล่องสนทนาก็จะได้รับคำตอบในลักษณะคล้าย ๆ กัน แต่ที่ต่างกันอย่างชัดเจนคือคำตอบของ Apprentice Bard มีการผนวกเหตุการณ์ปัจจุบันเข้าไปด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ ChatGPT ยังไม่มี

ตัวอย่างของคำถามเกี่ยวกับโอกาสที่ Google จะปลดพนักงานครั้งใหญ่อีกหรือไม่ในปี 2023 นี้ คำตอบที่ได้มีการวิเคราะห์ผลประกอบการของบริษัทในปี 2021 – 2022 ที่ผ่านมา

นอกจากนี้ Google ยังทดสอบรูปแบบหน้าค้นหาใหม่ที่ผู้ใช้สามารถป้อนคำถามเชิงบทสนทนาได้ หนึ่งในตัวอย่างที่ทาง CNBC เห็นก็คือหน้าแรกของการค้นหาที่รับการป้อนคำถามได้ 5 คำถามพร้อมกัน ซึ่งจะเข้ามาแทนที่แถบ ‘I’m feeling lucky’ รวมถึงยังมีโลโก้แชตเล็ก ๆ ที่ด้านขวาของแถบค้นหาด้วย
เมื่อป้อนคำถามเข้าไป ผลการค้นหาจะปรากฎในรูปแบบของกล่องสนทนาสีเทาใต้แถบค้นหา ซึ่งจะให้คำตอบที่มีความคล้ายกับมนุษย์มาตอบ และยังจะแนะนำคำถามต่อเนื่องให้ด้วย

อ้างอิง : https://www.beartai.com/news/itnews/1205082

ผู้ร่วมก่อตั้ง Instagram เปิดตัว Artifact แอปสำหรับอ่านข่าว มี AI ช่วยปรับแต่งประสบการณ์ใช้งาน

สองผู้ร่วมก่อตั้งอินสตาแกรม (Instagram) ประกาศเปิดตัวแอปฯ โซเชียลใหม่ล่าสุดที่มีชื่อว่า Artifact ภายในมีแมชชีนเลิร์นนิงช่วยปรับปรุงประสบการณ์อ่านข่าว

เควิน ซิสสตรอม และไมค์ ครีเกอร์ สองผู้ร่วมก่อตั้งอินสตาแกรมยุคบุกเบิก ก่อนที่จะขายกิจการให้กับเมตา (Meta) ในเวลาต่อมา สุดท้ายทั้งสองคนก็ทำงานที่เมตาสักระยะ แล้วลาออกเพื่อปลุกปั้นธุรกิจใหม่ของตัวเองอีกครั้งในชื่อ Artifact บริการด้านโซเชียลอีกหนึ่งรูปแบบ เจาะกลุ่มผู้ใช้งานที่ต้องการอ่านข่าวตามความสนใจส่วนบุคคล

ในเวลานี้ แอปพลิเคชัน Artifact ยังไม่เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ แต่ผู้ที่สนใจต้องการใช้งานสามารถลงทะเบียน waitlist ได้ บนหน้าเว็บไซต์ Artifact.news

ความน่าสนใจของ Artifact อยู่ตรงที่เบื้องหลังการทำงาน เนื่องจากเควิน ซิสสตรอม และไมค์ ครีเกอร์ ระบุว่า พวกเขาได้ใช้แมชชีน เลิร์นนิง (Machine Learning) ช่วยปรับแต่งประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้รายบุคคล แล้วค่อยๆ เรียนรู้ความต้องการของผู้ใช้งานทีละนิด ทีละน้อย พร้อมด้วยการสร้างองค์ประกอบของความเป็นโซเชียลมีเดียที่ทั้งสองคนถนัด เพื่อให้เกิดการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสบการณ์ของผู้ใช้งานในชุมชน

คอนเทนต์ข่าวที่ปรากฏบน Artifact ก็จะมาจากสำนักข่าวใหญ่ๆ ที่มีความน่าเชื่อถือสูง เช่น นิวยอร์กไทมส์ เป็นต้น นอกจากนี้ ภายในแอปพลิเคชันยังมีเครื่องมือควบคุมระบบความคิดเห็น บทความที่น่าสนใจที่ผู้ใช้งานติดตามนักเขียนคนนั้นโดยเฉพาะ และกล่องข้อความส่วนตัว เป็นต้น

แม้ว่าจะเป็นของใหม่ แต่ Artifact ก็มีคู่แข่งอีกเยอะมากสำหรับตลาดแอปฯ ด้านการอ่านข่าว เพราะยังมีเจ้าใหญ่อย่าง Apple News, Google News รวมไปถึงรายเล็กอย่าง Flipboard, Pocket และ Substack เป็นต้น

ความได้เปรียบของ Artifact ก็คงเป็นเรื่องของการใช้แมชชีนเลิร์นนิง ซึ่งถ้าหากเก่งกาจตามที่สองผู้ร่วมก่อตั้งอินสตาแกรมอ้างเอาไว้จริงๆ ก็ถือเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะต้องไม่ลืมว่าความสุดยอดของแมชชีน เลิร์นนิง ก็คือกุญแจดอกสำคัญที่ทำให้ติ๊กต่อก (TikTok) ประสบความสำเร็จอย่างสูงในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และกลายเป็นแอปพลิเคชันที่โดดเด่นที่สุดในโลก

สำหรับที่มาของชื่อ Artifact ประกอบมาจากคำว่า Articles (บทความ), Facts (ข้อเท็จจริง) และ Artificial Intelligence (ปัญญาประดิษฐ์)

อ้างอิง : https://www.thairath.co.th/news/tech/2618345

ผู้เผยแพร่งานวิชาการรายใหญ่ที่สุดของโลกกล่าว “ChatGPT ไม่สามารถเป็นผู้เขียนได้”

Springer Nature สำนักพิมพ์ทางวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้ชี้แจงนโยบายเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือเขียน AI ในเอกสารทางวิทยาศาสตร์ บริษัทประกาศในสัปดาห์นี้ว่าซอฟต์แวร์เช่น ChatGPT จะไม่ถูกให้เครดิตในฐานะผู้เขียนในเอกสารที่ตีพิมพ์ในวารสารหลายพันฉบับของพวกเขา อย่างไรก็ตาม Springer กล่าวว่าไม่มีปัญหากับนักวิทยาศาสตร์ที่ใช้ AI เพื่อช่วยเขียนหรือสร้างแนวคิดสำหรับการวิจัย ตราบใดที่การมีส่วนร่วมนี้ได้รับการเปิดเผยอย่างถูกต้องจากผู้เขียน

ChatGPT และโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) รุ่นก่อนหน้าได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้เขียนในงานพิมพ์ และบทความทางวิทยาศาสตร์จำนวนเล็กน้อย อย่างไรก็ตามลักษณะและระดับของการมีส่วนร่วมของเครื่องมือเหล่านี้แตกต่างกันไปในแต่ละกรณี ปฏิกิริยาในชุมชนวิทยาศาสตร์ต่อเอกสารที่ให้เครดิต ChatGPT เป็นผู้เขียนนั้นส่วนใหญ่เป็นไปในทางลบ โดยผู้ใช้โซเชียลมีเดียเรียกการตัดสินใจบางกรณีว่า “ไร้สาระ” “งี่เง่า” และ “โง่เขลาอย่างยิ่ง”

ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการให้สิทธิ์ผู้เขียนกับ AI คือ “การที่ซอฟต์แวร์ไม่สามารถทำหน้าที่ที่จำเป็นได้” ดังที่ Magdalena Skipper หัวหน้าบรรณาธิการของ Nature และ Springer Nature อธิบายไว้ “เมื่อเราคิดถึงการประพันธ์บทความทางวิทยาศาสตร์ งานวิจัย เราไม่ได้คิดถึงแค่การเขียน” Skipper กล่าว “มีความรับผิดชอบที่ขยายออกไปนอกเหนือจากการเผยแพร่ และแน่นอนว่าในขณะนี้ เครื่องมือ AI เหล่านี้ไม่สามารถรับภาระความรับผิดชอบเหล่านั้นได้”

ซอฟต์แวร์ไม่สามารถรับผิดชอบต่อสิ่งพิมพ์ได้ ซอฟต์แวร์ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับผลงานของตน และไม่สามารถติดต่อกับนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ และสื่อมวลชนเพื่ออธิบายและตอบคำถามเกี่ยวกับงานของตนได้

แม้ว่าจะมีการยอมรับ AI ในฐานะผู้เขียนในคนหมู่มากก็ตาม แต่ความชัดเจนในการใช้เครื่องมือ AI สำหรับการเขียนบทความนั้นยังไม่ชัดเจน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะข้อจำกัดที่ทราบกันดีของผลลัพธ์ที่ได้จาก AI ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นถึงอคติทางสังคม เช่น การกีดกันทางเพศและการเหยียดเชื้อชาติ และสร้าง “เรื่องเหลวไหลที่น่าเชื่อถือ” ซึ่งเป็นข้อมูลเท็จที่แสดงให้เห็นว่าเป็นความจริง ตัวอย่างนี้สามารถเห็นได้จากการใช้ AI สำหรับการเขียนบทความของ CNET เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งพบว่ากว่าครึ่งหนึ่งของบทความที่เผยแพร่มีข้อผิดพลาดในภายหลัง

นอกจากนี้ Skipper กล่าวว่าการห้ามใช้เครื่องมือ AI ในงานทางวิทยาศาสตร์นั้นจะไม่ได้ผล “ฉันคิดว่าเราสามารถพูดได้อย่างปลอดภัยว่าการแบนทุกอย่างไม่ได้ผล” เธอกล่าวว่า ชุมชนวิทยาศาสตร์ ซึ่งรวมถึงนักวิจัย ผู้จัดพิมพ์ และผู้จัดประชุม จำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อหาบรรทัดฐานใหม่สำหรับการเปิดเผยข้อมูลและแนวป้องกันความปลอดภัย

อ้างอิง : https://www.theverge.com/2023/1/26/23570967/chatgpt-author-scientific-papers-springer-nature-ban

AI ใหม่ของ Google “เปลี่ยนข้อความเป็นเพลง”

นักวิจัยของ Google ได้สร้าง AI ที่สามารถสร้างชิ้นดนตรีที่มีความยาวหลายนาทีจากข้อความได้ และยังสามารถแปลงเสียงผิวปากหรือฮัมเพลงเป็นเครื่องดนตรีอื่นๆ ได้ คล้ายกับวิธีที่ระบบอย่าง DALL-E สร้างภาพจากข้อความ โดยโมเดลนี้มีชื่อว่า MusicLM และแม้ว่าคุณจะไม่สามารถเล่นตัว AI ด้วยตัวคุณเองได้ แต่บริษัทได้อัปโหลดตัวอย่างจำนวนมากที่ผลิตขึ้นโดยใช้โมเดลดังกล่าวให้ลองดู

ตัวอย่างที่น่าประทับใจ มีท่อนสั้น 30 วินาทีของเสียงที่เหมือนเพลงจริงๆ ที่สร้างจากคำอธิบายที่ได้มีการกำหนดแนวเพลง กลิ่นอาย และแม้แต่เครื่องดนตรีเฉพาะ รวมถึงท่อนความยาว 5 นาทีที่สร้างจากคำหนึ่งหรือสองคำ เช่น “melodic techno” บางทีสิ่งที่ฉันชอบคือการสาธิต “โหมดเนื้อเรื่อง” ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วโมเดลจะได้รับสคริปต์เพื่อปรับเปลี่ยนระหว่างข้อความหลายชุด ตัวอย่างเช่น:
electronic song played in a videogame (0:00-0:15)
meditation song played next to a river (0:15-0:30)
fire (0:30-0:45)
fireworks (0:45-0:60)

ซึ่งเราสามารถเข้าไปฟังผลลัพธ์ได้ที่ https://google-research.github.io/seanet/musiclm/examples/audio_samples/story_mode/example_2.wav

ทาง Google ระมัดระวังการทำงานของ MusicLM มากกว่าเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายกัน โดยพวกเขากล่าวว่า “เราไม่มีแผนที่จะเผยแพร่แบบจำลอง ณ จุดนี้” โดยอ้างถึงความเสี่ยงของ “การยักยอกเนื้อหาที่อาจเกิดขึ้น” (การลอกเลียนแบบ) และการดัดแปลงทางวัฒนธรรมหรือการบิดเบือนความจริงที่อาจเกิดขึ้นได้

เทคโนโลยีนี้อาจกลายเป็นเทคโนโลยีที่สร้างประสบการณ์ที่สนุกสนานด้านดนตรีของ Google ในอนาคต แต่ในปัจจุบัน เฉพาะผู้ที่พัฒนาระบบ AI ทางดนตรีเท่านั้นที่จะได้รับประโยชน์จากการวิจัย โดย Google ได้เปิดเผยว่าพวกเขากำลังสร้างชุดข้อมูลสำหรับสาธารณะ ซึ่งประกอบด้วยคู่ข้อความดนตรีประมาณ 5,500 คู่ ซึ่งสามารถช่วยในการฝึกอบรมและประเมินระบบ AI ทางดนตรีอื่นๆ

อ้างอิง : https://www.theverge.com/2023/1/28/23574573/google-musiclm-text-to-music-ai

Medium ยินดีต้อนรับโพสต์ที่เขียนด้วย AI ตราบเท่าที่โพสต์นั้น “ระบุชัดเจน”

สื่อเผยแพร่ออนไลน์ Medium กล่าวว่า ทางบริษัทนั้นยินดีที่ผู้ใช้จะโพสต์บทความที่เขียนด้วยความช่วยเหลือของ AI เช่น ChatGPT ตราบใดที่มีการเปิดเผยการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นบนบทความ

Scott Lamb รองประธานฝ่ายเนื้อหาของ Medium ได้แชร์นโยบายใหม่ในบล็อกโพสต์ซึ่งระบุว่า:
“เรายินดีต้อนรับการใช้เทคโนโลยี AI ช่วยเหลือ อย่างมีความรับผิดชอบบนสื่อ เพื่อส่งเสริมความโปร่งใสและช่วยกำหนดความคาดหวังของผู้อ่าน เรากำหนดให้เรื่องราวใด ๆ ที่สร้างขึ้นด้วยความช่วยเหลือของ AI ต้องระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นเช่นนั้น”

บริษัทกล่าวว่าเมื่อพบโพสต์ที่เชื่อว่าสร้างโดย AI ซึ่งยังไม่ได้รับการเปิดเผย โพสต์นั้นจะไม่ถูกลบ แต่จะไม่ถูกเผยแพร่ผ่านฟีเจอร์คำแนะนำต่างๆ ของ Medium (รวมถึงส่วน “บทความสำหรับคุณ” ในหน้าแรก , จดหมายข่าว “Medium Digest” และอื่นๆ)

นักเขียนและสิ่งพิมพ์จำนวนหนึ่งที่ใช้ Medium ได้ห้ามใช้เครื่องมือเขียน AI แล้ว ตัวอย่างเช่น บล็อกที่มีผู้ติดตามมากที่สุดเป็นอันดับสองของไซต์ Towards Data Science กล่าวว่า “มุ่งมั่นที่จะเผยแพร่งานโดยผู้เขียนที่เป็นมนุษย์เท่านั้น” และจะอนุญาตเฉพาะข้อความที่สร้างขึ้นโดย AI เมื่อมีการระบุอย่างชัดเจนและใช้เป็นตัวอย่างเท่านั้น

อย่างไรก็ตามมีปัญหาอื่น ๆ สำหรับผู้เผยแพร่ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือ AI ในการเขียน รวมถึงความง่ายที่ซอฟต์แวร์นี้สามารถขโมยผลงานได้ ทาง Alex Kantrowitz นักข่าวด้านเทคโนโลยีที่เผยแพร่บน Substack เขียนในโพสต์ล่าสุดว่าผู้ใช้ Substack รายอื่นใช้ AI เพื่อคัดลอก ถอดความ และเผยแพร่หนึ่งในโพสต์ของเขาอีกครั้ง โพสต์กลายเป็นไวรัล แต่ถูกลบไปแล้ว ผู้เขียนยอมรับว่าใช้เครื่องมือ AI เพื่อ “ปรับปรุงการอ่านง่าย”

ผู้เผยแพร่ดิจิทัลจำนวนหนึ่งได้เริ่มทดลองใช้เครื่องมือการ AI สำหรับเขียน โดยทาง BuzzFeed ประกาศเมื่อวานนี้ว่าจะใช้เทคโนโลยีเพื่อ “ปรับแต่ง” และ “ปรับปรุง” เนื้อหาสำหรับผู้อ่าน ในขณะที่ CNET เพิ่งหยุดใช้ AI เพื่อสร้างเรื่องราวหลังจากมีการร้องเรียนว่าเทคโนโลยีไม่ได้รับการเปิดเผยอย่างถูกต้องและพบข้อผิดพลาดมากมายในบทความ

อ้างอิง : https://www.theverge.com/2023/1/27/23573954/medium-platform-publisher-ai-written-posts-policy-chatgpt+

—————————————————————————————-

ทั้งหมดเป็นข่าวที่น่าสนใจใน  27 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2565 พบกันใหม่ในสัปดาห์หน้านะคะ : )

หากมีข้อสงสัย ติชมสามารถ ติดตามและสอบถามได้ที่
 : AIไทยสามารถ โดย AI for all Thailand



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก