การเติบโตของอุตสาหกรรมแบบพึ่งพา AI สร้างโอกาสอะไรในธุรกิจ

การเติบโตของอุตสาหกรรมแบบพึ่งพา AI สร้างโอกาสอะไรในธุรกิจ

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน “ปัญญาประดิษฐ์” หรือ Artificial Intelligence (AI) เข้ามาเป็นกระแสหลักในสังคมไทย สื่อต่าง ๆ กล่าวถึงความเป็นไปได้ที่ AI จะเข้ามาเป็นแรงงานหลักในอนาคตอันใกล้ จนเริ่มมีความตื่นตัวในวงกว้างว่า AI จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงภาคธุรกิจอย่างรวดเร็วและสร้างผลกระทบต่อภาคแรงงาน ด้วยการเข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์  ในบทความนี้ ผมอยากเชิญชวนให้ท่านผู้อ่านได้ทำความเข้าใจถึงความสามารถในการเปลี่ยนโลกของ AI ว่าเป็นอย่างไร และภาคธุรกิจควรเตรียมรับมือ หรือสร้างโอกาสอะไรได้บ้างจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

AI คืออะไร

สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้ให้นิยาม “ปัญญาประดิษฐ์” ไว้ว่า “ความสามารถของสิ่งประดิษฐ์ ในการแสดงปฏิกิริยาหรือกระทำการใด ๆ ในสถานการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดด้วยตนเองเสมือนการทำงานของสมองมนุษย์ ความสามารถนี้เกิดจากคำสั่งหรือชุดคำสั่งที่สร้างขึ้น มิใช่เพียงเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานให้เกิดผลอย่างใด อย่างหนึ่งที่แน่นอน แต่ให้คอมพิวเตอร์สามารถรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล แล้วกระทำ…” จากนิยามนี้ จะเห็นได้ว่า จริง ๆ แล้ว AI มีความหมายกว้างมาก ตั้งแต่ระบบที่ช่วยตัดสินใจง่าย ๆ ไปจนถึงหุ่นยนต์ที่มีสามัญสำนึกเหมือนคนจริง ๆ แต่ทั้งนี้เราจะเห็นจุดร่วมสำคัญอย่างหนึ่งคือ ความสามารถในการเรียนรู้

หากเราสังเกตดูจะพบว่า ความสามารถของ AI ในปัจจุบันยังจำเพาะเจาะจงอยู่กับงานอย่างใดอย่างหนึ่งค่อนข้างมาก เช่น AI สำหรับการรับรู้การมองเห็น AI แนะนำสินค้าให้ลูกค้าแบบรายบุคคล AI สำหรับระบบขับเคลื่อนรถยนต์ เป็นต้น แต่เรายังไม่มี AI ใดที่สามารถจำลองการรับรู้และเรียนรู้แบบครอบคลุมเหมือนมนุษย์ได้ ระบบต่าง ๆ จึงพยายามดึงศักยภาพของ AI โดยอาศัยข้อได้เปรียบของระบบคอมพิวเตอร์คือ การทำงานได้ต่อเนื่องอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ประจวบกับการแข่งขันในตลาด ทำให้มีผู้ผลิตเทคโนโลยีคุณภาพดีในราคาที่คนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ศักยภาพในการเรียนรู้ของ AI จึงสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยสามารถเรียนรู้เรื่องที่มนุษย์ต้องใช้เวลาหลายปีได้ในเวลาเพียงไม่กี่วัน แต่การทำให้ AI เรียนรู้งานในองค์กรได้ก็ตามมาด้วยต้นทุนต่าง ๆ ในการพัฒนาและการดูแลในระยะยาว เช่น บุคลากร เงินทุน เวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบข้อมูลในองค์กร ที่ต้องออกแบบมาให้ไร้รอยต่อ เพื่อให้ AI สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่

AI และโอกาสในภาคธุรกิจปัจจุบัน

AI และโอกาสในภาคธุรกิจปัจจุบัน
photoby Pete Linforth จาก Pixabay

หากมองในแง่โอกาสสำหรับภาคธุรกิจ AI คือ การเลือกนำเข้ามาปรับใช้ในเรื่องการขยายธุรกิจ และปรับปรุงประสิทธิภาพของขั้นตอนต่าง ๆ โดยใช้จุดแข็งของ AI ในด้านการเรียนรู้และการทำงานที่มีลักษณะเป็นกิจวัตรหรือทำเป็นประจำทุกวัน (Routine) เช่น ธุรกิจของเรามีปัญหาด้านบุคลากรที่ไม่เพียงพอในการตอบคำถามของลูกค้าก็อาจพิจารณานำระบบ AI เข้ามาช่วยตอบคำถาม หรือใช้ AI ช่วยแนะนำสินค้าให้กับลูกค้าในกรณีที่ธุรกิจมีสินค้าหลากหลาย จะเห็นได้ว่า จริง ๆ แล้ว AI ก็เป็นเครื่องมืออีกตัวหนึ่งที่ภาคธุรกิจต่าง ๆ สามารถเลือกใช้เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งได้ โดยสิ่งสำคัญที่อยากเน้นย้ำ คือ อย่ามองว่า AI จะเป็นยาวิเศษที่เข้ามาแก้ไขปัญหาให้เราได้ทุกอย่าง เพราะบางปัญหาอาจไม่จำเป็นต้องแก้ด้วย AI แต่ควรพุ่งเป้าไปที่ต้นตอของปัญหา เพื่อให้การแก้ไขทำได้อย่างตรงจุด

ทั้งนี้ หากธุรกิจมีความพร้อม เล็งเห็นโอกาสและความจำเป็นในการนำ AI เข้ามาใช้ เราควรมีพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ ส่วนแรกคือ [su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”Digital Transformation เป็นการเปลี่ยนแปลงองค์กรหรือธุรกิจ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงให้ธุรกิจหรือองค์กรมีความพร้อมในโลกดิจิทัลมากขึ้น นอกจากการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้แล้ว การวางยุทธศาสตร์ แนวคิดการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กร วิสัยทัศน์ของผู้นำที่พร้อมรับสิ่งที่เปลี่ยนแปลง การมีและใช้นวัตกรรมให้เกิดประโยชน์ และการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์และการนำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มาใช้ครบถ้วน

Ref: https://blog.ourgreenfish.com/th/what-is-digital-transformation-business-world

” ]การเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ความเป็นดิจิทัล[/su_tooltip] หรือ Digital Transformation เช่น หากเราต้องการใช้ AI แต่ในองค์กรของเรายังไม่ได้ออกแบบวิธีการจัดเก็บข้อมูลดิจิทัล และกระบวนการที่เหมาะสมในการเชื่อมต่อข้อมูล หรือในกรณีองค์กรต้องการทำระบบโต้ตอบกับลูกค้าด้วย AI แต่กลับไม่มีระบบคลังคำตอบที่เหมาะสมสำหรับการดึงคำตอบ การเริ่มต้นใช้งาน AI ก็อาจไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร เป็นต้น ส่วนที่สอง ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กับส่วนแรก ได้แก่ [su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”Reskill หมายถึงการเพิ่มทักษะใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น การจัดข้อมูลจำนวนมหาศาล การทำงานแบบ Agile การใช้นวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อสามารถทำงานสอดคล้องกับเทคโนโลยีและแนวโน้มการทำงานในอนาคต

Ref: https://bottomlineis.co/Business_Work_Career_Reskill_Corporate

” ]การปรับเปลี่ยนทักษะ[/su_tooltip] (Reskill) หรือ[su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”Upskill หมายถึงการพัฒนาทักษะเดิมที่มีอยู่ให้แข็งแกร่งมากขึ้น และสามารถปรับใช้ในบริบทใหม่ที่เกิดขึ้นได้

Ref: https://bottomlineis.co/Business_Work_Career_Reskill_Corporate

” ] เพิ่มความสามารถ[/su_tooltip] (Upskil) ให้กับบุคลากรในองค์กร เพื่อลดช่องว่างความเข้าใจเรื่องความสามารถของ AI ให้กับบุคลากรในทุกระดับ รวมไปถึงการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับองค์กร โดยกระบวนการนี้ไม่ควรทำอย่างฉาบฉวย แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่องและเข้มข้น โดยภายใน ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ของเราเองก็ได้มีการจัดตั้ง ทรู ดิจิทัล อคาเดมี (True Digital Academy) ขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์การสร้างทักษะดิจิทัลที่จำเป็นในการทำงานยุคปัจจุบัน โดยการ Reskill และ Upskill ให้กับบุคลากรทั้งภายนอกและภายในองค์กร ในลักษณะของหลักสูตรระยะยาวที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพแบบเป็นขั้นตอนและต่อเนื่อง

AI ที่กล่าวกันว่ากำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตเรานั้น อาจไม่ได้มาเร็วจนตามไม่ทันอย่างที่ใคร ๆ กล่าวกัน หรือทำให้หลาย ๆ อาชีพหมดความสำคัญจนหลาย ๆ คนต้องตกงานในไม่ช้า แม้ว่า AI อาจจะกำลังค่อย ๆ เข้ามาแทนที่แรงงานบางอย่าง แต่เรายังมีเวลาเพียงพอที่จะเรียนรู้และปรับเปลี่ยนตัวเองได้ทัน ช่วงเวลา ณ ตอนนี้จึงเป็นโอกาสที่ทุกคนจะได้คิดไตร่ตรองว่างานที่เราทำนั้นจะถูกแทนที่ได้หรือไม่ และถ้าได้…ได้เพราะอะไร เป็นไปได้ไหมที่เราจะเร่งพัฒนาตัวเราเองเพื่อเตรียมรับกับความเปลี่ยนแปลงนี้ หรือปรับเปลี่ยนแนวคิดที่มอง AI เป็นศัตรูสู่การเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกัน โดยเข้าใจถึงศักยภาพที่ AI สามารถทำได้และนำเข้ามาปรับใช้กับงานของตนอย่างเหมาะสม

Our Writer

ดร. ภัสด์ พุทธาพิพัฒน์

Head of Product Development กลุ่มธุรกิจ True Analytics, True Digital Group.

นำทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงวิทยาศาสตร์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ อาทิเช่น แผนที่แสดงข้อมูลประชากรเชิงวิเคราะห์ (Geopulse) รายงานแสดงผลการวิเคราะห์การแข่งขันเชิงธุรกิจในโลก online (Digipulse) ระบบแนะนำสินค้าและผลิตภัณฑ์อัตโนมัติ (Recommendation Engine as a service) อีกทั้งมีประสบการณ์ทำงานออกแบบอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) และเป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันการศึกษาชั้นนำต่าง ๆ

Header Designed by Naulicreative / Freepik



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก