การปฏิรูปภาครัฐด้วยปัญญาประดิษฐ์

การปฏิรูปภาครัฐด้วยปัญญาประดิษฐ์

สังคมโลกในปัจจุบันมองว่า “ปัญญาประดิษฐ์” (Artificial Intelligence) หรือ AI นำมาซึ่งความเป็น “รัฐบาลอัจฉริยะ” ที่สามารถทำงานและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนจะได้รับความสะดวกในการติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐผ่านการให้ “[su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”One stop service เป็นแนวคิดที่ต้องการอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการให้สามารถรับบริการต่าง ๆ ได้ ณ ที่แห่งเดียว โดยไม่จำเป็นต้องไปติดต่อส่วนงานอื่น ๆ หลายแห่ง ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกสบาย ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

https://tdga.dga.or.th/index.php/th/?option=com_eventbooking&view=event&id=122&catid=27&Itemid=297

https://businesslinx.globallinker.com/bizforum/article/one-stop-service-มัดใจลูกค้า/12635
” ]บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว[/su_tooltip]” (One Stop Service) เสียงของประชาชนจะถูกนำมาประมวลผล เพื่อใช้พิจารณาโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาบริการใหม่ ๆ ที่ใช้งบประมาณอย่างเหมาะสม

เทคโนโลยี AI ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในรัฐบาลหลายประเทศ เพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่างกันไป รวมทั้งประเทศไทยด้วย การใช้ AI ในภาครัฐ ไม่ได้หมายถึงการจัดซื้อและติดตั้งเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพียงอย่างเดียว แต่ต้องกระตุ้นให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในเชิงความคิดของข้าราชการ ปรับกระบวนการทำงานใหม่ให้สอดรับกับเทคโนโลยี เพิ่มทักษะและความรู้แก่บุคลากร ปรับกฎหมาย กฎกระทรวงและระเบียบต่าง ๆ ให้เหมาะสม รวมไปถึงการสร้างความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมกับภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ

ทั้งหมดนี้เป็นโจทย์ยากสำหรับรัฐบาลเกือบทุกประเทศ แล้วการเริ่มต้นที่ประชาชนมองเห็นว่าคุ้มค่า และรู้สึกได้ถึงความเปลี่ยนแปลงควรเป็นอย่างไร

โดยทั่วไป การมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและประชาชนข้องเกี่ยวกับภาครัฐใน 2 เรื่องหลักคือ “การรับบริการ” และ “การให้ข้อมูล/ ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ” รัฐบาลสามารถเลือกเรื่องที่สำคัญและอยู่ในความสนใจของประชาชนจากทั้งสองกลุ่มงานมานำร่องก่อนได้

หน่วยงานภาครัฐในหลายประเทศจึงพิจารณานำร่องด้วยระบบการให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัล
Designed by vectorjuice / Freepik

สำหรับการรับบริการนั้น ความคาดหวังของภาคธุรกิจและประชาชนคือ บริการที่สะดวก รวดเร็ว น่าพึงพอใจ และมีประสิทธิภาพ ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐในหลายประเทศจึงพิจารณานำร่องด้วยระบบการให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัล โดยใช้ AI แบบพื้นฐานอย่างหลากหลาย ตัวอย่างเช่น

– การให้บริการสรุปกฎหมายและพรบ. ที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ ด้วยการใช้ AI จัดหมวดหมู่ มีระบบสืบค้นตัวบทกฎหมายที่ชาญฉลาด และระบบแนะนำการจดแจ้งทะเบียนประเภทต่าง ๆ ตามกฎหมายเพื่อการประกอบธุรกิจ เป็นการใช้เทคโนโลยีย่อยสิ่งที่เข้าใจยากให้ง่ายขึ้นสำหรับคนทั่วไป

– การให้บริการแนะนำแหล่งท่องเที่ยว โดยใช้ AI จัดกลุ่มนักท่องเที่ยวจากพฤติกรรมการเดินทางและจับจ่ายใช้สอย มีระบบแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ ๆ แบบอัตโนมัติตามความชอบและงบประมาณของประชาชนที่หน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวสามารถใช้เป็นเครื่องมือส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองได้อีกด้วย

– การให้บริการสุขภาพ โดยใช้ AI ศึกษาพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วย เช่น โรคเบาหวาน/ความดัน เพื่อออกแบบโปรแกรมแนะนำการกินอาหารและออกกำลังกายสำหรับปัจเจกบุคคล

– การทำนายหรือประเมินการเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ในหน่วยงานต่าง ๆ เช่น การไฟฟ้า การประปา เป็นต้น เพื่อให้รัฐสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเลือกเปลี่ยนอุปกรณ์ได้ก่อนเกิดการชำรุด

– การใช้ AI เพื่อทำนายและแจ้งเตือนเรื่องต่าง ๆ เช่น การจราจร มลพิษ น้ำท่วม ศัตรูพืช ราคาสินค้า ฯลฯ

– การให้บริการประชาชนด้วยหลักการ “เมืองอัจฉริยะ” การใช้ AI แนะนำเส้นทางเพื่อหลบหลีกการจราจรที่ติดขัด การใช้ AI วิเคราะห์การกระจายตัวของประชากร เพื่อใช้ประกอบการวางผังเมือง การหาที่ตั้งที่เหมาะสมสำหรับโรงงาน สถานพยาบาล สวนสาธารณะ และห้างสรรพสินค้า หรือแม้กระทั่งการวางแผนเส้นทางของรถขยะในเมือง

จะเห็นได้ว่า การพัฒนาบริการทั้งหมดที่ยกตัวอย่างข้างต้นนั้น รัฐไม่สามารถมองแค่การประยุกต์เทคโนโลยี AI เพียงอย่างเดียว แต่ต้องมองภาพรวมของเทคโนโลยีดิจิทัลและโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ประกอบการออกแบบบริการและกระบวนงาน ทั้งนี้อาจควบรวมเทคโนโลยีจากหลายสาขา เช่น [su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”บล็อกเชน เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูล (Data structure) แบบหนึ่งที่ทำให้ข้อมูล Digital transaction ของแต่ละคนสามารถแชร์ไปยังทุก ๆ คนได้ เป็นเสมือนห่วงโซ่ (Chain) ที่ทำให้ block ของข้อมูลลิงก์ต่อไปยังทุก ๆ คน โดยที่ทราบว่าใครเป็นเจ้าของและมีสิทธิในข้อมูลนั้นจริง ๆ
https://techsauce.co/tech-and-biz/understand-blockchain-in-5-minutes
” ]บล็อกเชน[/su_tooltip] (Block Chain) ระบบเสมือนจริง หรือ AR/VR ([su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”AR (Augmented reality) คือ การผสานระหว่างโลกแห่งความเป็นจริงและความเสมือนจริงเข้าด้วยกันผ่านอุปกรณ์รับภาพและแสดงภาพ กล่าวคือ เป็นการแสดงภาพโลกแห่งความจริงและแต่งเติมด้วยวัตถุเสมือนเข้าไป และสามารถตอบสนองกับสิ่งนั้นได้
www.nsm.or.th/other-service/676-online-science/knowledge-inventory/sci-trick/sci-trick-information-technology-museum/3937-ar-กับ-vr-คืออะไร…-แล้วต่างกันยังไงล่ะ….html
” ]Augmented Reality[/su_tooltip]
/ [su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”VR (Virtual reality) คือ การจำลองภาพให้เสมือนจริง แบบ 360 องศา ซึ่งเทคโนโลยีนี้ต้องใช้ควบคู่ไปกับอุปกรณ์สำคัญ นั่นก็คือ แว่นตา VR โดยผ่านการรับรู้ของเรา ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น เสียง การสัมผัส หรือแม้กระทั่งกลิ่น และทำให้เราสามารถตอบสนองกับสิ่งที่จำลองนั้นได้
www.nsm.or.th/other-service/676-online-science/knowledge-inventory/sci-trick/sci-trick-information-technology-museum/3937-ar-กับ-vr-คืออะไร…-แล้วต่างกันยังไงล่ะ….html” ]Virtual Reality[/su_tooltip]
) [su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”Internet of Things คือ สิ่งของทุกอย่างบนโลกใบนี้ที่สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลได้ ซึ่งเป็นไปได้ตั้งแต่เม็ดยา กล้องบันทึกภาพ นาฬิกา หลอดไฟ รถยนต์ ไปจนถึงเครื่องบิน โดยมีเป้าหมายว่าอุปกรณ์เหล่านี้จะเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันโดยมีมนุษย์เกี่ยวข้องน้อยที่สุด และทำหน้าที่เชื่อมประสานระหว่างข้อมูลจากโลกดิจิทัลกับโลกทางกายภาพให้ใกล้ชิดกันที่สุด
http://dv.co.th/blog-th/Get-to-know-IOT/
” ]ระบบไอโอที[/su_tooltip] (Internet of Thing : IoT) [su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”Cloud Computing คือ บริการที่ให้เราเช่าทรัพยากรคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ โดยครอบคลุมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์และระบบออนไลน์ต่าง ๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งเราสามารถเลือกจำนวนทรัพยากรได้ตามความต้องการในการใช้งาน โดย cloud computing มีหลากหลายประเภท ตั้งแต่การใช้งานเฉพาะซอฟต์แวร์ออนไลน์เพียงอย่างเดียว (Software as a service) โดยผู้ใช้ไม่ต้องจัดการกับระบบคอมพิวเตอร์เบื้องหลัง เช่น Google Docs หรือ Email ไปจนถึงระบบที่ให้ผู้ใช้สามารถเลือกจัดการได้ทุกอย่าง ตั้งแต่ฮาร์ดแวร์จนถึงแอปพลิเคชัน (Infrastructure as a service)
https://blog.openlandscape.cloud/cloud-computing-คือ/
” ]ระบบคลาวด์[/su_tooltip] (Cloud Computing) ระบบความปลอดภัยข้อมูล ฯลฯ เข้ามาใช้ร่วมกันให้ได้อย่างเหมาะสม (Technology Convergence)ในเรื่องการให้ข้อมูล/ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะของประชาชนสู่รัฐนั้น สามารถทำได้ในหลายบริบท เช่น

– การเลือกตั้งผ่านระบบดิจิทัล ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ AI ในการแจ้งเตือนความผิดปกติของจำนวนบัตรลงคะแนน การสวมสิทธิ์ เอกสารปลอม รวมไปถึงการเลือกส่งข้อความ เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วม และการแสดงความโปร่งใส ตรวจสอบได้ของกระบวนงานอีกด้วย

– การรับเรื่องร้องทุกข์ผ่านระบบ Call Center แอปพลิเคชันมือถือ เว็บไซต์ และการดึงความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ จากสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อนำมาประมวลผลด้วยเทคนิค[su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”สาขาหนึ่งของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) ที่ทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการสื่อสารและวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นภาษา<br>http://www.dv.co.th/blog-th/get-to-know-natural-language-processing-nlp/” ]การประมวลผลภาษาธรรมชาติ[/su_tooltip] (NLP) โดยมีจุดประสงค์เพื่อรับรู้ข้อเสนอแนะ (Feedback) ของประชาชนต่อโครงการภาครัฐ ตลอดจนถึงการใช้เพื่อติดตามคืบหน้าของการแก้ปัญหาจากการร้องทุกข์ได้อีกด้วย

– การสำรวจข้อมูลประชากรในมิติต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการวางนโยบายของรัฐ โดยเปลี่ยนจากการเดินเท้าเก็บข้อมูลมาเป็นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและแบบสอบถามออนไลน์ อย่างไรก็ดี การให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ครบถ้วน มักมีข้อคำถามจำเป็นจำนวนมากที่ประชาชนไม่อยากเสียเวลาตอบ ซึ่งรัฐสามารถใช้เทคโนโลยี AI กรองข้อคำถามที่เหมาะสมสำหรับประชาชนแต่ละกลุ่ม รวมทั้งใช้ AI ประมวลผลและจัดกลุ่มคำตอบในเบื้องต้นได้อีกด้วย

การที่ภาครัฐจะสามารถปรับกระบวนงานและบริการด้วยเทคโนโลยี AI ได้นั้น รัฐบาลจำเป็นต้องสร้างพื้นฐานทางด้านข้อมูล เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐสามารถบูรณาการและใช้งานข้อมูลร่วมกันได้ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ ที่เหมาะสม รวมถึงอบรมข้าราชการให้เข้าใจเทคโนโลยี สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องยาก รัฐบาลจึงต้องวางแผนอย่างรอบคอบ โดย “คิดให้ไกลสุดทาง แต่เริ่มต้นที่จุดเล็ก ๆ  เรียนรู้ให้เร็วและขยายผลให้ได้”  โดยในช่วงแรกของการปรับตัว การมีองค์กรที่ระดมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ AI แก่หน่วยงานภาครัฐ หรือที่เรียกว่า “Intelligence Service” ก็จะช่วยให้ภาครัฐเริ่มต้นได้เร็วขึ้น

Our Writer

รศ.ดร.ธีรณี อจลากุล

รศ. ดร. ธีรณี อจลากุล

ทำงานในแวดวงของการวิเคราะห์ข้อมูล Big data การประมวลผลขั้นสูง ระบบคลาวด์และระบบเสมือนจริง การพัฒนาด้านคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 โดยมีประสบการณ์จากการทำงานในอุตสาหกรรมไอทีและสถาบันการศึกษา ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย

ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ดร. ธีรณีได้เข้าร่วมโครงการวิเคราะห์ข้อมูลและโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์หลายแห่งทั้งในภาครัฐและเอกชน เป็นที่ปรึกษาและคณะกรรมการด้านสารสนเทศและข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐจำนวนมาก นอกจากนี้ยังเคยเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยระดับนานาชาติ เช่น โครงการความร่วมมือ KMUTT – CERN (Switzerland) และ iHPC, A-STAR (Singapore) เป็นต้น

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (Government Big Data Institute) หรือ GBDi ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์แก่หน่วยงานภาครัฐในประเทศไทย

มีผลงานตีพิมพ์ตำราเรียน 2 เล่ม และวารสารจำนวนมาก

Header designed by Freepik



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก