เทคโนโลยี AI กับธุรกิจสื่อและอุตสาหกรรมบันเทิง

เทคโนโลยี AI กับธุรกิจสื่อและอุตสาหกรรมบันเทิง

ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกมีบทบาทสำคัญมากในอุตสาหกรรมบันเทิง ทั้งในด้านการสร้างสื่อรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเกมคอมพิวเตอร์ การ์ตูนและแอนิเมชัน สื่อโฆษณา ภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ รวมไปถึงวิดีโอสตรีมมิ่ง ในการสร้างสื่อเหล่านี้มักต้องมีการสร้างเอฟเฟกต์หรือองค์ประกอบในภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ เช่น การสร้างหมอก ควัน ไฟ การสร้างวัตถุประกอบฉากและตัวละคร เช่น สัตว์ประหลาดหรือภูตผีปีศาจ เพื่อให้การเล่าเรื่องราวต่าง ๆ แก่ผู้ชมมีความสมจริงมากขึ้น ในปัจจุบันการสร้างโลกและตัวละครด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับสื่อบันเทิงแบ่งในเชิงเทคนิคได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ เกม แอนิเมชัน และ สื่อภาพยนตร์/โทรทัศน์

การสร้างตัวละครและฉากสำหรับแอนิเมชัน เป็นการสร้างตัวละครและฉากที่เป็นดิจิทัลทั้งหมดตามเรื่องราว ผ่านมุมกล้องที่ผู้ผลิตหรือผู้กำกับต้องการ โดยเริ่มจากการสร้างแบบจำลองหรือโมเดล (สองมิติหรือสามมิติ) ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นจึงนำมาสร้างการเคลื่อนไหวให้เหมาะสมตามจินตนาการของศิลปินผู้สร้างสรรค์สื่อ เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกจึงถูกนำมาเป็นเครื่องมือในการสร้างตัวละคร สร้างการเคลื่อนไหวของกล้องและวัตถุ สร้างโลกหรือฉากต่าง ๆ จากนั้นจึงผ่าน[su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”การเรนเดอร์เป็นขั้นตอนในการรวมฉาก วัตถุ หรือองค์ประกอบต่าง ๆ ออกเป็นมาเป็นเฟรมแต่ละเฟรมตามลำดับและนำมาประกอบกันเป็นวิดีโอ” ]การเรนเดอร์[/su_tooltip] (render) เพื่อให้ออกมาเป็นภาพเคลื่อนไหวต่อเนื่องต่อไป กระบวนการผลิตเหล่านี้มักใช้เวลานานและเป็นการทำซ้ำในส่วนย่อยต่าง ๆ จนกว่าจะได้สื่อแอนิเมชันออกมาตามที่ผู้ผลิตต้องการ ดังนั้นการนำเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์หรือ AI มาใช้เพื่อพัฒนาสื่อแอนิเมชันจึงอยู่ในส่วนของการพัฒนาให้ตัวละครมีความสมจริงเป็นธรรมชาติ เช่น การนำวิธีสร้างแบบจำลองเชิงฟิสิกส์มาใช้ร่วมกับ AI และ [su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”สาขาหนึ่งของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้และพัฒนาความสามารถในการตัดสินใจได้จากข้อมูลตัวอย่าง” ]ML[/su_tooltip] (machine learning) เพื่อให้การเดินหรือการเคลื่อนไหวของตัวละครมีความสมจริงคล้ายสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ โดยระบบ AI จะใช้ตัวอย่างภาพการเคลื่อนไหวเพื่อเรียนรู้ลักษณะท่าทางการเดินของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้มาเป็นต้นแบบในการสังเคราะห์ท่าทางการเดินของตัวละครที่สร้างขึ้นใหม่ให้มีความสมจริงมากขึ้น นอกจากนั้น AI/ML ยังสามารถนำมาใช้พัฒนาการแสดงออกทางใบหน้าของตัวละครให้เหมาะสมกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งสร้างการขยับปากให้ตรงกับคำพูดในภาษาต่าง ๆ แบบอัตโนมัติได้อีกด้วย

Virtual Reality (VR)
People photo created by mego-studio – www.freepik.com

ในกลุ่มของการสร้างเกม เป็นการสร้างตัวละครและโลกที่เป็นดิจิทัลเช่นเดียวกัน แต่แตกต่างจากแอนิเมชันในเรื่องการปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นตามเวลาจริง หรือ real-time ระหว่างผู้เล่นและคอมพิวเตอร์ ดังนั้นการสร้างภาพเคลื่อนไหวในเกมจึงต้องมีการ render ด้วยคอมพิวเตอร์ตามเวลาจริงด้วย การสร้างฮาร์ดแวร์ทางด้านกราฟิกที่สามารถ render ภาพได้จากมุมมองต่าง ๆ ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ด้วยเวลาจริงนี้ เป็นตัวเร่งสำคัญของเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์เนื่องจากทำให้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก ๆ ได้ในเวลาที่น้อยลงผ่านการใช้[su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”เป็นวิธีในการประมวลผลการทำงานที่มีขนาดใหญ่ให้เร็วมากขึ้นโดยการแบ่งงานออกเป็นงานย่อย ๆ และส่งไปประมวลผลในหลาย ๆ หน่วยประมวลผลพร้อม ๆ กัน” ]ระบบการประมวลผลแบบขนาน[/su_tooltip] แต่ความต้องการในการสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทันกับการปฏิสัมพันธ์ในเวลาจริงของสื่อแบบเกมก็ทำให้การเคลื่อนไหว แสง และสีของตัวละครและฉากไม่มีความสมจริงเท่าในสื่อภาพยนตร์และโทรทัศน์ ในอนาคตเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จะมีความสำคัญมากในการเพิ่มความสมจริงเหล่านี้ผ่านวิธีการปฏิสัมพันธ์แบบใหม่ ๆ ที่ให้ภาพและความรู้สึกที่เป็นจริง ([su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”เทคโนโลยีที่สร้างความกลมกลืมระหว่างโลกในความจริง กับโลกจำลองแบบดิจิตอล ซึ่งเป็นการสร้าง “ความรู้สึกจมดิ่ง” ลงไปในโลกเสมือนนั้นจนคล้ายกับอยู่ในโลกความเป็นจริง” ]immersive[/su_tooltip]) มากขึ้น เช่น การเล่นเกมผ่านระบบ [su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”เป็นการจำลองสภาพแวดล้อมจริงเข้าไปให้เสมือนจริง โดยผ่านการรับรู้จากการมองเห็น เสียง สัมผัส แม้กระทั่งกลิ่น

 

https://www.ops.go.th/main/index.php/knowledge-base/article-pr/675-interface-technology-vr-ar-mr

” ]Virtual Reality[/su_tooltip] (VR) ระบบ [su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”การรวมสภาพแวดล้อมจริง กับ วัตถุเสมือน เข้าด้วยกันในเวลาเดียวกัน โดยวัตถุเสมือนที่ว่านั้น อาจจะเป็น ภาพ, วิดิโอ, เสียง, ข้อมูลต่าง ๆที่ประมวลผลมาจากคอมพิวเตอร์, มือถือ, หรืออุปกรณ์สวมใส่ขนาดเล็กต่าง ๆ และทำให้เราสามารถตอบสนองกับสิ่งที่จำลองนั้นได้

 

https://www.ops.go.th/main/index.php/knowledge-base/article-pr/675-interface-technology-vr-ar-mr

” ]Augmented Reality[/su_tooltip] (AR) และ [su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”การผสมผสานระหว่าง AR และ VR โดยจำลองเอาสิ่งที่เห็นในโลกจริงรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของโลกเสมือน

 

http://www.nsm.or.th/other-service/671-online-science/knowledge-inventory/sci-vocabulary/sci-vocabulary-information-technology-museum/3954-mixed-reality.html#:~:text=MR%20(Mixed%20reality)%20%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99,%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96

” ]Mixed Reality[/su_tooltip] (MR) การขยายตัวของเกม VR ทั่วโลกนั้นมีอัตราการเติบโตมากกว่า 14% มาตั้งแต่ปีค.ศ. 2018 เทคโนโลยี AI ถูกนำมาใช้ทั้งในเรื่องการตรวจจับการปฏิสัมพันธ์ของผู้เล่นและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ สร้างการตอบสนองที่มีความฉลาดมากขึ้นผ่านการเรียนรู้ สร้างการเคลื่อนไหวของตัวละครที่คล้ายคลึงกับการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตในโลกจริง และการสร้างฉาก แสง สี เสียง ให้สมจริงมากขึ้นโดยการเรียนรู้จากภาพและวิดีโอจำนวนมาก

Kinetic Gait Analysis Using Inertial Motion Capture: New Tools For Knee Osteoarthritis – Scientific Figure on ResearchGate. Available from: https://www.researchgate.net/figure/Inertial-motion-tracking-solutions_fig4_327437481 [accessed 23 Oct, 2020]

กลุ่มที่สามคือ การสร้างสื่อภาพยนตร์ สื่อโทรทัศน์และสื่อโฆษณาในรูปแบบ life action นั้นต้องใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาช่วยอย่างมากในกระบวนการที่เรียกว่า [su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”วิชวลเอฟเฟกต์คือการสร้างสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง ให้เป็นจริงขึ้นมาในจอภาพยนตร์หรือโฆษณาต่าง ๆ ด้วยกระบวนการทางคอมพิวเตอร์ ” ] การสร้างวิชวลเอฟเฟกต์ [/su_tooltip](visual effects) ซึ่งเป็นการนำภาพวิดีโอที่ได้ถ่ายทำไว้แล้วมาปรับปรุง เพิ่ม ตัดต่อ ให้มีสภาวะต่าง ๆ ของสิ่งแวดล้อมตามที่ต้องการ เช่น เปลวไฟ ฝน ฟ้าผ่า ลมพายุ รวมไปถึงการเพิ่มวัตถุ สิ่งของ อาคารบ้านเรือน และตัวละคร ในกระบวนการสร้างภาพยนตร์หรือสื่อวิดีโอนั้น การเพิ่มเอฟเฟกต์เหล่านี้จะอยู่ภายในกระบวนการหลังการถ่ายทำที่เรียกกันว่า โพสต์โปรดักชัน (post production) กระบวนการนี้ในภาพยนตร์จะแตกต่างจากการสร้างสื่อแอนิเมชัน ตรงเอฟเฟกต์ที่สร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ในภายหลังต้องกลมกลืนไปกับภาพที่ได้ถ่ายทำมาก่อน จนผู้ชมไม่สามารถแยกแยะได้ว่าส่วนใดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ส่วนใดเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นภายหลังด้วยคอมพิวเตอร์ ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้กระบวนการหลังการถ่ายทำยุ่งยาก ละเอียดและซับซ้อนมาก รวมทั้งเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีในการบันทึกข้อมูล (capture) ซึ่งอาจอยู่ในรูปของการถ่ายภาพสองมิติหรือมากกว่านั้น การติดตามตำแหน่งกล้องและวัตถุ (camera และ object tracking) และการติดตามการเคลื่อนไหว (motion tracking)

ในปัจจุบันศิลปินจะเป็นผู้สร้างแบบจำลองหรือโมเดลของสภาวะวัตถุและตัวละครต่าง ๆ ด้วยโปรแกรม เช่น Maya หรือ Nuke หลังจากนั้นจะคำนวณหาตำแหน่งและพารามิเตอร์ของกล้องและเลนส์ เพื่อให้มีการผสมผสาน (composite) ส่วนที่สร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ลงไปในภาพจริงได้ถูกต้องตามตำแหน่งและมุมมองที่เหมาะสมอย่างแม่นยำ การคำนวณหาตำแหน่งและพารามิเตอร์เหล่านี้ สามารถทำได้ด้วยวิธีการประมาณตำแหน่งของวัตถุจากภาพต่อเนื่องหลาย ๆ ภาพด้วยคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้การแก้ไขเปลี่ยนแปลงภาพอาจมีขั้นตอนต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น การลบวัตถุหรือส่วนของวัตถุที่ไม่ต้องการ การเลือกตัดเฉพาะบริเวณ (rotoscoping) การเพิ่มพื้นหลัง การขยายฉากให้มองเห็นภาพของสิ่งแวดล้อมในมุมมองที่กว้างขึ้น (set extension) และการประมาณความลึกของวัตถุต่าง ๆ กระบวนการเหล่านี้มีความละเอียดสูงและยุ่งยาก เนื่องจากในการถ่ายทำอาจมีสภาวะต่าง ๆ ที่ทำให้ภาพไม่ชัดเจน เช่น ปริมาณแสงน้อย มีแสงกระพริบ มีควันไฟและการสั่นของกล้อง ทำให้เป็นกระบวนการที่ใช้เวลานานและต้องอาศัยการตัดสินใจของมนุษย์เข้ามาช่วยค่อนข้างมาก
ปัจจุบันได้มีเทคโนโลยี AI มาช่วยให้การทำงานบางอย่างมีความเป็นอัตโนมัติมากขึ้น เช่น
     • การใช้ระบบ [su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”face tracking คือ การตรวจจับตำแหน่งใบหน้า

head tracking คือ การตรวจจับตำแหน่งศีรษะ

” ]face tracking head tracking[/su_tooltip] และ pose tracking มาช่วยในการหาตำแหน่งของศีรษะและท่าทางของตัวละคร
     • การใช้ ‘[su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”เป็นการประยุกต์ใช้การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) ในการสร้างรูปภาพหรือแม้กระทั่งวิดีโอปลอมขึ้นมา โดยที่มีความเหมือนจริงจนมนุษย์ไม่สามารถแยกได้โดยง่ายว่าภาพหรือวิดีโอนั้นจริงหรือปลอม เช่น การสลับหน้าคนในวิดีโอ เป็นต้น” ]deep fake[/su_tooltip]’ ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบ deep learning ในการช่วยพัฒนาเอฟเฟกต์ประเภท face replacement (การเปลี่ยนหน้าหรือแก้ไขดัดแปลงหน้าของตัวละคร) และ de-aging (การเปลี่ยนอายุของตัวละครให้เด็กลงหรือแก่ขึ้น)
     • การใช้ ‘deep pose’ ติดตามท่าทางการเคลื่อนไหวของตัวละคร เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการดัดแปลงเครื่องแต่งกายและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายสำหรับตัวละครขณะเคลื่อนไหวได้…

ในอนาคตความสามารถในการ render แบบเวลาจริงของ game engine เช่น Unreal Engine และ Unity Engine จะเปลี่ยนวิธีการทำงานในกระบวนการถ่ายทำภาพยนตร์ เนื่องจากทำให้เราสามารถสร้างระบบการแสดงผลแบบ immersive สำหรับการถ่ายทำได้ ซึ่งจะช่วยให้ทีมพัฒนาภาพยนตร์สามารถจินตนาการเอฟเฟกต์ได้ในช่วงวางแผนการถ่ายทำ และขณะถ่ายทำจริงผ่านระบบ [su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”การสร้างภาพจำลองของฉากในภาพยนตร์ ซึ่งจะทำให้ผู้กำกับมองเห็นได้ว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นจะมีลักษณะเช่นไร  เพื่อประกอบการตัดสินใจในการทำโปรดักชั่น” ]immersive pre-visualization[/su_tooltip] และ [su_tooltip style=”dark” position=”north” shadow=”yes” rounded=”yes” size=”4″ content=”การผนวกวิดีโอกับคอมพิวเตอร์กราฟิกเข้าด้วยกัน เพื่อให้เราสามารถดูผลลัพธ์ได้แบบเรียลไทม์” ]virtual production[/su_tooltip]

นอกจากการสร้างสื่อบันเทิงต่าง ๆ แล้ว ยังมีการใช้ AI ในธุรกิจสื่อการตลาด เช่น การทำ metadata-tagging หรือการ tag ข้อมูลภาพปริมาณมหาศาล เพื่อนำไปประมวลผลเชิงข้อมูลสำหรับการสร้างกิจกรรมการตลาดและการขาย การสร้าง content personalization สำหรับโฆษณาสินค้าและบริการ โดยใช้ข้อมูลที่เก็บมาจากพฤติกรรมของผู้ชมเพื่อทำการตลาดและสร้างสื่อซึ่งแสดงผลิตภัณฑ์ที่น่าจะตรงกับความสนใจส่วนบุคคลของผู้ชม รวมทั้งการนำการวิเคราะห์ข้อมูล (AI/data analytics) มาใช้บริหารโครงการเพื่อจัดการ pipeline ของอุตสาหกรรมบันเทิงให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วตั้งแต่ขั้นตอนการ bidding การ collaboration ในกระบวนการต่าง ๆ จนถึงการส่งงานให้ลูกค้า

Our Writer

ดร.ถวิดา มณีวรรณ์

ดร.ถวิดา มณีวรรณ์

Thavida Maneewarn

[email protected]
ดร.ถวิดา มณีวรรณ์ เป็น Director ของ บ.ยานนิกซ์ จำกัด ซึ่งได้ประยุกต์ใช้กระบวนการ Computer Vision ในการติดตามตำแหน่งกล้องและวัตถุสำหรับการสร้างสื่อภาพยนตร์และโทรทัศน์
จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจาก University of Washington สหรัฐอเมริกา ทำงานวิจัยด้านหุ่นยนต์ที่สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มาตั้งแต่ปีพ.ศ.2543 โดยพัฒนาหุ่นยนต์ในหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ หุ่นยนต์ NAMO เพื่อใช้ในการต้อนรับและประชาสัมพันธ์ หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์ นอกจากนี้ยังพัฒนาหุ่นยนต์ในเชิงอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้กับรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน โดยเฉพาะหุ่นยนต์ด้านการบริการและตรวจสอบซ่อมบำรุง 
ดร.ถวิดาเป็นอดีตนายกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย จึงมีส่วนร่วมอย่างมากในการส่งเสริมกิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์รายการต่าง ๆ ในประเทศตลอดระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา รวมทั้งพยายามผลักดันให้เกิดธุรกิจด้านหุ่นยนต์ประเภทต่าง ๆ ขึ้นในประเทศอีกด้วย

Header designed by pikisuperstar / Freepik



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก